จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน
วันนี้ Admin จะพามาทำความรู้จักกับจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร เป็นที่รู้กันว่าในปัจจุบันจุลินทรีย์เป็นส่วนสำคัญในการ ทำเกษตรปลอดสารพิษหรือเกษตรอินทรีย์ ไม่เฉพาะการปลูกพืช แต่ยังรวมไปถึงการเลี้ยงสัตว์ ได้มีการนำจุลินทรีย์มาใช้ ประโยชน์ในการผสมกับอาหารสัตว์เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะ ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่า จุลินทรีย์มีบทบาทที่สำคัญกับเรา โดยตรง
จุลินทรีย์คืออะไร
จุลินทรีย์คือสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นมีอยู่ในธรรมชาติน้ำในดินอากาศซึ่งมีทั้งที่เป็นอันตรายและไม่เป็น อันตรายต่อพืชมนุษย์และสัตว์และมีจุลินทรีย์บางจำพวกที่เป็นประโยชน์ในการสร้างยาปฏิชีวนะซึ่งถูกนำไปใช้ประโยชน์ใน ทางการแพทย์ซึ่งระบบนิเวศของจุลินทรีย์มีความหลากหลายในที่นี้เราจะมาดูจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อระบบการเพาะปลูก ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต บทบาทและหน้าที่ของจุลินทรีย์ทางธรรมะชาติคือเป็นผู้ย่อยสลายจุลินทรีย์ทำหน้าที่ ย่อยสลายที่มาจากสัตว์เน่าเปื่อยจนไม่เหลือซากและกลายเป็นดินที่อุดมไปด้วยธาตุอาหารขึ้นธาตุอาหารเหล่านี้ที่เกิดจากการ ย่อยสลายวัตถุต่างๆโดยจุลินทรีย์จะได้สารอาหารที่ละลายน้ำได้และเป็นประโยชน์ต่อร่างของพืชซึ่งทำให้พืชสามารถนำไปใช้ ได้ทันที
เชื้อราสาเหตุโรคพืช
เชื้อราสาเหตุโรคพืช ลักษณะของเชื้อราทั่วไปจะเป็นเส้นใยคล้ายเส้นด้ายละเอียด เส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น จะเห็นได้เมื่อมีการเจริญเป็นกลุ่มก้อนหรือเป็นกลุ่มโคโลนีของเส้นใย เชื้อราสาเหตุโรคพืชส่วนใหญ่สร้างหน่วยขยายพันธุ์เรียกว่า สปอร์ เพื่อใช้ในการแพร่ระบาดและการมีชีวิตรอดในระบบนิเวศ สปอร์ของเชื้อรามีหน้าที่คล้ายเมล็ดพันธุ์พืช นั่นคือพร้อมที่จะเจริญและงอก แต่เป็นการเจริญแพร่พันธุ์และงอกได้ในพืช สปอร์เหล่านี้พร้อมที่จะระบาดจากพืชในพื้นที่หนึ่งไปสู่อีกพื้นที่หนึ่ง โดยมีลม น้ำ หรือมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญในการพัดและ/หรือพาไป เมื่อสปอร์เหล่านี้ไปสู่พืชพรรณชนิดต่าง ๆ ที่เหมาะสม สปอร์ก็จะเจริญและงอกเข้าไปในพืชโดยการแทงผ่านผิวพืชเข้าไปในพืชได้โดยตรงหรืองอกแล้วแทงผ่านเข้าไปตามแผลที่เกิดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของพืช หรือเข้าตามช่องเปิดธรรมชาติ เช่น ปากใบ เมื่อเข้าไปแล้วเชื้อราพวกนี้ก็จะมีการสร้างสารพิษ เอนไซม์ หรือสารกระตุ้นต่าง ๆ ทำลายพืชให้ได้รับความเสียหาย เกิดการเปลี่ยนแปลงผิดปกติไป ปัจจุบันมีการผลิตสารเคมีเรียกว่าสารควบคุมเชื้อราโรคพืช หรือ Fungicides ใช้ฉีดพ่นทั้งในลักษณะป้องกันและรักษาก่อนและหลังจากที่พืชเป็นโรค
ในกลุ่มของจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืช เชื้อราจัดเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำความเสียหายให้แก่พืชผลมากที่สุด มีเชื้อรามากกว่า 8,000 ชนิดที่เป็นสาเหตุโรคพืช และมีพืชชั้นสูงและหรือพืชผลทางการเกษตรเกิดโรค เนื่องจากเชื้อราไม่น้อยกว่า 100,000 โรค เชื้อราสามารถแพร่ระบาดไปตามที่ต่าง ๆ ได้โดยติดไปกับซากพืชเป็นโรค เมล็ดและ/หรือท่อนพันธุ์ ดิน ปุ๋ยคอก หรือวัสดุปลูกต่าง ๆ รวมทั้งแพร่ไปกับน้ำและปลิวไปกับลมได้ดี
สำหรับโรคของพืชป่าไม้ในประเทศไทย พบว่ามีเชื้อราที่เป็น Microfungi จำนวนมากที่สามารถเข้าทำลายพืชป่าไม้ได้ตั้งแต่ระยะเมล็ด กล้าไม้ และส่วนต่าง ๆ ของลำต้น ได้แก่ ใบ กิ่งก้าน ลำต้น และฝัก โดยขณะนี้พบเชื้อราประมาณ 92ชนิด จากเมล็ดไม้ 47 ชนิด ; 72 ชนิด จากกล้าไม้ 40 ชนิด และประมาณ 29 ชนิด จากไม้ใหญ่ 9 ชนิด โดยเชื้อราสาเหตุโรคพืชป่าไม้ที่หลากหลายเหล่านี้สามารถจัดกลุ่มตามลักษณะอาการต่าง ๆ ของโรคได้ เช่น โรคเน่าคอดิน (dampingoff), ราสนิม (rust), ราแป้ง (powdery mildew), จุดนูนดำ (tarspot),ใบไหม้ (leaf blight), ยอดตาย (dieback), แผลแตกตามลำต้น (canker) ฯลฯเป็นต้น
โรคพืชจากเชื้อรา
โรคใบจุดพืชคะน้า สาเหตุเกิดจากเชื้อราAlternaria sp อาการเกิดแผลวงกลมเป็นจุดช้ำน้ำเล็กๆต่อมาใบ
เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
โรคโคนเน่าพืชตระกูลส้ม สาเหตุเกิดจากเชื้อราPhytophthora parasitica อาการเปลือกโคนต้น
เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและเน่ามียางสีน้ำตาลไหลออกมารากเน่าใบเหลืองม้วนงอและร่วงกิ่งแห้งตาย
โรคเน่าระดับดินในพืชถั่วเหลือง สาเหตุเกิดจากเชื้อราPythium sp อาการโคนต้นเป็นจุดช้ำน้ำเล็กๆแผลแห้งยุบ
ตัวคอดกิ่วต้นกล้าหักพับ
โรคแอนแทรกโนสในพริก สาเหตุเกิดจากเชื้อราColletotrichum sp อาการผลเกิดเป็นจุดสีน้ำตาลแดง
ลุกลามสร้างกลุ่มสปอร์สีน้ำตาลแดงเกิดเรียงกันเป็นวงกลมมีเมือกสีส้มปกคลุมผิวบริเวณที่เป็นโรค
โรคเหี่ยวพืชมะเขือเทศ จะเกิดอาการเสียวอย่างช้าช้าใบที่โคนต้นเหลืองและร่วงก่อน ต่อมาเหี่ยวทั้งต้นรากเน่าใบเหลืองร่วง
กิ่งก้านท่อน้ำและท่ออาหารถูกทำลายเป็นสีน้ำตาล
โรคราสนิมขาว เบญจมาศ สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Puccinia horiana Henn. อาการเกิดจุดสีเหลืองขนาดเล็กบริเวณส่วนส่วนของใบแล้วขยายใหญ่ขึ้น. ส่วนต้นใต้ใบจะเห็นจุดสีขาวนวลต่อมาจะขยายใหญ่ขึ้นเป็นจุดนูนกลมสีชมพูและเป็นสีขาว
โรคราเขม่าดำ หัวหอมใหญ่ สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Aspergillus niger อาการเกิดผงสีดำคล้ายผงเขม่าเกาะอยู่ที่หัวหอมใหญ่
โรคราแป้ง ตระกูลแตง สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis อาการใบเกิดผงสีขาวคล้ายผงแป้งทั้งด้านบนใบและด้านใต้ใบผิวใบด้านต่อมาใบแห้งตาย
โรคราน้ำค้าง องุ่น สาเหตุเกิดจากเชื้อราPlasmopara viticola อาการที่ด้านบนของใบเกิดเป็นปื้นสี
เหลืองส่วนด้านใต้จะพบขุยสีขาวของเชื้อจานวนมาก
เชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช
แบคทีเรียเป็นจุลินทรีย์เซลล์เดียว มีผนังแข็งห่อหุ้มเซลล์ (cell wall) รูปร่างจึงคงที่ แต่ละเซลล์มีขนาดเล็กมากต้องใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูงจะเห็นเซลล์ชัดเจน แบคทีเรียบางชนิดสามารถเคลื่อนที่ได้เองด้วยหาง บางชนิดสามารถสร้างสปอร์ที่คงทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ แบคทีเรียมีการทวีจำนวนเพิ่มขึ้นด้วยการแบ่งเซลล์ ส่วนใหญ่แบคทีเรียสาเหตุโรคพืชมีรุปร่างเป็นทอนสั้นและไม่สร้างสปอร์ แต่จะมีชั้นเมือกหรือแคบซูลห่อหุ้มผนังด้านนอกเซลล์อีกชั้นหนึ่ง จึงช่วยให้มีอายุนานและทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดีขึ้น แบคทีเรียสามารถผลิตสารพิษและเอนไซม์ทำลายพืชให้ได้รับความเสียหายได้ แบคทีเรียบางชนิดสร้างสารเร่งการเจริญเติบโตไปทำให้เซลล์พืชเจริญมากผิดปกติ เกิดอาการบวมพอง เป็นปุ่มปม แบคทีเรียเข้าทำลายพืชได้ทางแผลที่เกิดขึ้นตามผิวพืชและทางช่องเปิดธรรมชาติ เช่น ปากใบแบคทีเรียมักจะถูกยับยั้งการเจริญได้ง่ายโดยการปฏิชีวนะแทบทุกชนิด รวมทั้งสารประกอบที่มีธาตุทองแดงเป็นส่วนผสมแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุโรคพืชมีประมาณ 200 ชนิด การแพร่กระจายของแบคทีเรียไปสู่ที่ต่าง ๆ จะเป็นไปในลักษณะเช่นเดียวกับการแพร่ระบาดของเชื้อรา
โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
โรคเหี่ยว ตระกูลแตง สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียErwinia sp. อาการพืชแสดงอาการเหี่ยวอย่างรวดเร็วและ
ตายภายในไม่กี่วัน
โรคเน่าเละพืชหัวหอม สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียErwinia carotovora อาการเนื้อเยื่อตรงกลางหัว
เน่ายุบตัวเป็นเมือกเยิ้มสีน้ำตาลอ่อนจนเกือบดำมีกลิ่นเหม็น
โรคเน่าดำ คะน้า สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียXanthomonas campestris อาการเกิดแผลบริเวณ
ขอบใบแล้วลามเข้าหาเส้นกลางใบเป็นรูปตัววีจนไหม้ทั้งใบและแห้งตายไป
โรคปุ่มปม แอปเปิ้ล สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียAgrobacterium sp. อาการเนื้อเยื่อบริเวณกิ่งก้านเกิด
เป็นปุ่มปม
โรคแคงเกอร์ ส้มเขียวหวาน สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียXantromonas campestris pv.
citri อาการใบกิ่งผลเกิดจุดนูนสีน้ำตาลเล็กๆล้อมรอบด้วยวงสีเหลืองกลางจุดนูนมีลักษณะหยาบบุ๋มตรงกลางหรือแตก
เป็นแอ่ง
การผลิตจุลินทรีย์สำหรับใช้เพื่อการเกษตรด้วยตัวเอง ทำได้อย่างไร
การผลิตจุลินทรีย์หรือการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์สำหรับเกษตรกรนั้น ไม่ใช่เรื่องที่สลับซับซ้อนเกินความสามารถของเกษตรกร เพียงแต่ต้องเข้าใจหลักการพื้นฐานของจุลินทรีย์ เช่นจุลินทรีย์มีบทบาทหน้าที่อย่างไร ขยายพันธุ์ได้อย่างไร และจุลินทรีย์ใช้อะไรเป็นอาหาร ซึ่งสำหรับประเทศไทยเป็นประเทศ
มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ซึ่งเป็นลักษณะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ของจุลินทรีย์ ดังนั้นจึงมีจุลินทรีย์อยู่ทั่วไปทั้งในอากาศ ในพืช ในสัตว์ จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องซื้อจุลินทรีย์ มาใช้
การผลิตน้ำหมักชีวภาพ คือการนำเศษซากพืชหรือซากสัตว์ ที่เหลือใช้มาหมัก ด้วยอาหารของจุลินทรีย์ อาทิเช่น กากน้ำตาล หรือผักผลไม้ ที่มีความหวาน มีน้ำตาลเป็นองค์ประกอบ ซึ่งจุลินทรีย์จะใช้น้ำตาลเหล่านี้เป็นอาหาร ทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ให้มีมากขึ้น กิจกรรมการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ก็เกิดเร็วขึ้น ผลที่ได้จากการหมักซากพืชซากสัตว์ ได้แก่ สารอาหารและแร่ธาตุต่างๆที่อยู่ในพืช จะถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายและปลดปล่อยออกมา ให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช และจุลินทรีย์เหล่านั้นยังสร้างกรดหรือสารอินทรีย์ ที่มีประโยชน์ ช่วยในการควบคุมเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคพืช และยังสามารถช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืชได้อีกด้วย
สูตรผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์
ขั้นตอนการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์
สิ่งที่ต้องเตรียม
- ผักผลไม้ อาทิเช่น สับปะรด ฝรั่ง มะละกอ และอื่นๆ จำนวน 3 กิโลกรัม
- กากน้ำตาล จำนวน 1 กิโลกรัม
- ถังหมักควรเป็นถังฟ้า เพราะทนทานต่อกรด เนื่องจากในการทำน้ำหมักชีวภาพ จะมีความเป็นกรดค่อนข้างสูง
วิธีทำหัวเชื้อจุลินทรีย์
- นำผักผลไม้ที่เตรียมไว้จำนวน 3 กิโลกรัมมาสับและบดให้ละเอียด
- น้ำผักผลไม้ที่ บดสับอย่างละเอียดแล้วมาผสมรวมกับกากน้ำตาล ในอัตราส่วน( ผักผลไม้:กากน้ำตาล) 3:1
- ใส่ลงในถังหมัก คลุกเคล้าให้เข้ากัน
- ปิดฝาถังหมักให้สนิท
- กวนวัสดุในถังหมักให้สัมผัสกับอากาศทุกๆ 5-7 วัน เพื่อให้เกิดการย่อยสลายได้ดีขึ้น
- หมักทิ้งไว้ประมาณ 1-2 เดือน
- เมื่อครบกำหนด ให้กรองเอาเฉพาะน้ำ ซึ่งก็คือหัวเชื้อจุลินทรีย์ นำมาบรรจุใส่ขวดปิดฝาให้สนิท พร้อมนำไปใช้ต่อไป หรือนำไปทำน้ำหมักจุลินทรีย์ (EM)
วิธีการทำน้ำจุลินทรีย์ (EM)
ต้องเตรียมอุปกรณ์การทำ ดังนี้
- ถังพลาสติกมีฝาปิด
- ถุงปุ๋ย
- กากน้ำตาล (โมลาท) หรือน้ำตาลทรายแดง
- หัวเชื้อจุลินทรีย์
- เศษผักผลไม้ เศษอาหาร
เมื่อเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ พร้อมแล้ว ก็มาสู่ขั้นตอนการหมัก
- ใส่น้ำจำนวน 8 ลิตรลงในถังหมัก ควรใช้น้ำบ่อหรือน้ำสระ แต่ถ้าไม่มีก็สามารถใช้น้ำประปาแทนได้ ในกรณีใช้น้ำประปา ควรใส่ถังเปิดฝาทิ้งไว้ 2 วัน เพื่อให้คลอรีนระเหยออกไปเสียก่อน ไม่เช่นนั้น จุลินทรีย์จะถูกคลอรีนในน้ำประปาทำลาย
- นำกากน้ำตาล 250 ซีซี เทใส่ลงไป ถ้าไม่มีกากน้ำตาล สามารถใช้น้ำตาลทรายแดงแทน ประมาณ 300 กรัม คนให้ละลายเข้ากัน
- น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ 250 cc ผสมลงไปในถัง คนให้เข้ากัน
- นำเศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ ที่สับละเอียดเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ลงไปในถุงตาข่าย หรือนำมาห่อด้วยผ้าขาวบางแล้วผูกด้วยเชือก นำถุงตาข่ายที่ห่อเศษผัก เศษผลไม้ ใส่ลงไปในถังหมัก แล้วใช้วัตถุที่มีน้ำหนักวางทับ ลงบนถุงตาข่าย และให้ถุงตาข่ายจมอยู่ในน้ำ จากนั้นปิดฝาปากให้สนิท
- หมักทิ้งไว้เป็นเวลา 7 วัน
- เมื่อครบ 7 วันสามารถนำน้ำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ได้
วิธีการใช้น้ำจุลินทรีย์
- ใช้น้ำจุลินทรีย์ 1 ส่วน ผสมน้ำ 10 ส่วน ราดบริเวณที่มีกลิ่น
- ใช้น้ำจุลินทรีย์ 1 ส่วน ผสมน้ำ 500 ส่วน นำไปฉีดพ่นที่ใบหรือบริเวณโคนต้นไม้ สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช ช่วยป้องกันการก่อกวนของแมลง
ประโยชน์ของจุลินทรีย์ด้านการเกษตร
- ใช้จุลินทรีย์ในการปรับปรุงดิน ทำให้ดินร่วนซุย มีช่องว่างถ่ายเทอากาศได้ดีขึ้น ช่วยให้รากพืชชอนไชหาอาหารได้ดีขึ้น
- นำน้ำหมักชีวภาพที่ขยายแล้วมาผสมกับน้ำ 100 เท่า (น้ำหมักจุลินทรีย์ 1 ลิตร กับน้ำ 100 ลิตร ) ฉีดพ่นหรือรดแปลงผักทุก 1-2 สัปดาห์/ครั้ง
- นำน้ำหมักชีวภาพ ผสมกับน้ำในอัตราข้างต้น (1:100) นำไปราดหรือรดโคนไม้ผล หรือ นำไปฉีดพ่นทรงพุ่มไม้ผลในระยะแตกใบ และระยะออกดอก
- แก้ปัญหาความเป็นกรดด่างในน้ำเพื่อการเกษตร
- ใช้ควบคุมป้องกันแมลงและศัตรูที่เป็นโรคพืช
- เป็นตัวช่วยย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ ทำให้เกิดการปลดปล่อยสารอาหาร แร่ธาตุต่างๆ ให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชอย่างมาก
ประโยชน์ของจุลินทรีย์ด้านปศุสัตว์
- นำน้ำเชื้อจุลินทรีย์ ที่ขยายแล้วมาคลุกผสมกับอาหารสัตว์ที่ให้แก่โค กระบือ อัตรา 1 ลิตร/อาหาร 10 กิโลกรัม ซึ่งจะช่วยเพิ่มเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในกระเพาะรูเมน และเร่งอัตราการย่อยอาหาร
- นำน้ำเชื้อ จุลินทรีย์ ที่ขยายแล้ว ผสมรวมกับอาหารหยาบของโค กระบือ เพื่อหมักอาหารหยาบ เช่น ฟางข้าว หญ้าอาหารสัตว์ ก่อนนำมาเลี้ยง ซึ่งจะช่วยย่อยอาหารหยาบให้รวดเร็วขึ้น
- นำน้ำเชื้อ จุลินทรีย์1 ลิตร ที่ขยายแล้ว ผสมกับน้ำ 100 ลิตร ล้างทำความสะอาดตัวสัตว์ ซึ่งจะช่วยป้องกันแมลงตัวห้ำ และแมลงดูดเลือดที่จะมาเกาะบนตัวสัตว์
- นำน้ำเชื้อ จุลินทรีย์ 1 ลิตร ที่ขยายแล้ว ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณคอกสัตว์ ซึ่งจะช่วยย่อยสลายซากพืชหรือมูลสัตว์ทำให้กลิ่นเหม็นลดลง
ประโยชน์ของจุลินทรีย์ด้านการประมง
- นำน้ำเชื้อจุลินทรีย์ ที่ขยายแล้ว ราดเทใส่บ่อเลี้ยงกุ้งหรือเลี้ยงปลา อัตรา 100 ลิตร/บ่อ 1 ไร่ ซึ่งจะช่วยลดค่า BOD หรือความสกปรกในน้ำ ทำให้น้ำสะอาดขึ้น รวมถึงช่วยต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคในสัตว์น้ำได้
ประโยชน์ของจุลินทรีย์ด้านสิ่งแวดล้อม
- นำน้ำเชื้อจุลินทรีย์ ที่ขยายแล้ว เทราดในบ่อบำบัดน้ำเสีย อัตรา 10 ลิตร/น้ำเสีย 10 ลบ.เมตร ซึ่งจะช่วยย่อยสลายความสกปรกให้รวดเร็วขึ้น ทำให้ค่า BOD ในน้ำลดลง
- นำน้ำเชื้อจุลินทรีย์ ที่ขยายแล้ว เทราดในส้วม รางระบายน้ำ หรือ ท่อระบายน้ำ ซึ่งจะช่วยย่อยสลายสิ่งสกปรก และช่วยลดกลิ่นเหม็น
สาเหตุที่ทำให้จุลินทรีย์ถูกทำลายหรือมีปริมาณลดลง
การใช้สารเคมีอาทิเช่นการใช้ยาฆ่าแมลงยาฆ่าหญ้ารวมถึงการบุกรุกทำลายป่าเป็นสาเหตุทำให้จุลินทรีย์ถูกทำลาย
การเก็บรักษาหัวเชื้อจุลินทรีย์ และข้อพึงระวัง
- ไม่สามารถทนต่อยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าเชื้อ และสารเคมี จึงห้ามผสมสารเหล่านี้
- เก็บในภาชนะที่ปิดสนิท ไม่ให้อากาศเข้า
- หลีกเลี่ยงการเก็บหรือวางทิ้งไว้บริเวณแดดส่องถึงหรือใกล้แหล่งความร้อนต่างๆ
- มีอายุสามารถเก็บไว้ได้นาน 8-12 เดือน ภายใต้อุณหภูมิปกติ และอยู่ในที่ร่ม
- หากมีการแบ่งใช้ ต้องปิดฝาภาชนะบรรจุให้สนิททุกครั้ง
- หากพบน้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์มีสีดำ และส่งกลิ่นเหม็นเน่า แสดงว่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ตายหมดแล้ว ไม่สามารถนำไปใช้ได้
- หากเกิดแผ่นสีขาว ซึ่งเกิดจากเชื้อรา แนะนำให้ตักคราบด้าบนออก เติมกากน้ำตาลเพิ่ม และหมักต่อ