หน่อไม้ฝรั่ง พืชทำเงินอีกตัวหนึ่งที่น่าสนใจ รวมเทคนิคการปลูกหน่อไม้ฝรั่งขาย

ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกหน่อไม้ฝรั่ง

  • ดินร่วนและดินเหนียวที่มีหน้าดินลึก
  • ระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี
  • มีค่า ph 6.0-6.8  ถ้าดินเป็นกรด ควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับปรุงดินให้มีค่า ph ที่เหมาะสม หรือใช้น้ำหมักปลาทะเข้มข้นพิเศษคาวบอย

เทคนิคและวิธีการปลูกหน่อไม้ฝรั่ง

การเพราะกล้าหน่อไม้ฝรั่ง

  • ไถดินให้ลึก เก็บวัชพืชออกให้หมด
  • ตากดินไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์
  • ย่อยดินให้ละเอียด
  • ใส่สารปรับปรุงดิน
  • ขุดดินเป็นร่องยาว
  • นำเมล็ดหยอดลงในร่องทีละ 1 เมล็ดเว้นระยะห่าง 10-15 เซ็นติเมตร โรยทับด้วยฟูราดานบางๆ
  • เกลี่ยดินขอบๆร่องกลบเมล็ดในร่องบางๆ
  • ใช้ฟางคลุมทับบนแปลงหนาพอประมาณ

การป้องกันเชื้อรากล้าหน่อไม้ฝรั่ง

  • ใช้สารเคมีป้องกันเชื่อรา เช่น แมนโซแคบ ในอัตรา 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 10 ลิตร ใส่บัวรดน้ำรดให้ทั่วแปลง แล้วให้รดน้ำตามให้ชุ่ม
  • รดน้ำบ่อยๆ อย่าให้แปลงปลูกแห้งเกินไป
  • ประมาณ 10-15 วันต้นกล้าเริ่มงอกให้นำฟางที่คลุมไว้ออกบ้าง
  • การให้น้ำต้องระวังอย่าฉีดโดนต้นกล้าแรงเกินไปจะทำให้ต้นกล้าช้ำได้
แปลงปลูกหน่อไม้ฝรั่ง

การเตียมกล้าหน่อไม้ฝรั่งก่อนย้ายปลูก

  • ให้ทำการย้ายกล้าเมื่ออายุได้ 6 เดือน เพราะสามารถคัดแยกเพศได้ โดยคัดต้นตัวผู้เท่านั้น เพราะให้หน่อดก
  • งดการให้น้ำต้นกล้าก่อนย้ายปลูกประมาณ 2 สัปดาห์ ช่วยทำให้รากเหนียวไม่ขาดง่ายในขณะย้ายปลูก
  • ให้น้ำแปลงต้นกล้าให้ชุ่มก่อนวันย้ายกล้า1-2 วัน จะช่วยให้ขุดต้นกล้าได้ง่าย
  • ตัดลำต้นเหนือดินออกบางส่วนเหลือใว้ประมาณ 10 เซ็นติเมตร ด้วยอุปกรณ์ที่คม
  • ทำการขุดต้นกล้าโดยขุดให้ห่างจากต้นกล้าให้มากที่สุด
  • นำต้นกล้าไปล้างราก เอาดินออก
  • นำต้นกล้าไปแช่สารละลายเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา 10 นาทีขึ้นไป
  • นำต้นกล้ามาผึ่งลมให้แห้ง ก่อนนำไปปลูก

การนำต้นกล้าลงแปลงปลูก

  • ขุดหลุมปลูกกว้าง 20  ลึก 20 เซนติเมตร
  • ระยะระหว่างต้น  50 * 150 เซนติเมตร
  • ใส่ปุ๋นอินทรีย์รองก้นหลุม ประมาณ 1 กำมือ
  • นำต้นกล้าลงปลูกโดยแผ่รากต้นกล้าให้กระจายออกไปโดยรอบ แล้วกลบดิน
  • หยอดสารป้องกันแมลงใว้รอบๆต้น
  • คลุมด้วยฟางเพื่อรักษาความชื้น
  • รดน้ำผสมยากันราให้ชุ่มแต่ไม่แฉะเกินไป
  • รดน้ำวันเว้นวัน จนต้นกล้าสามารถตั้งตัวได้

วิธีเตรียมแปลงปลูกหน่อไม้ฝรั่ง

การเตียมแปลงปลูกหน่อไม้ฝรั่ง

การปลูกหน่อไม้ฝรั่งในที่ลุ่ม

  • ปรับสภาพดินด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักชีวภาพ หรือปุ๋ยอินทรีย
  • ทำการยกร่อง ให้ร่องมีความกว้าง 4- 5 เมตร
  • ให้มีร่องน้ำกว้างประมาณ 1 เมตร
  • ระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 1-1.20 เมตร

การปลูกหน่อไม้ฝรั่งในที่ดอน

ดินในที่ดอนจะไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ ให้ทำการยกร่องเพื่อให้น้ำต้นหน่อไม้ฝรั่ง โดยวิธีปล่อยน้ำใหลไปตามร่อง การเตียมแปลงปลูกจึงต้องไถปรับหน้าดินให้ลาดไปทางใดทางหนึ่ง แล้วให้ปรับสภาพดิน และเตรียมแปลงที่มีความกว้าง 120-150 เซนติเมตร โดยให้ร่องน้ำกว้าง 30-40 เซนติเมตร

การดูแลหน่อไม้ฝรั่งให้ได้ผลผลิตดี

การให้น้ำหน่อไม้ฝรั่ง

ควรให้น้ำอย่างสมำ่เสมอ เพื่อรักษาความชื้นให้พอเหมาะไม่แห้งหรือแฉะเกินไป ถ้าหน่อไม้ฝรั่งขาดน้ำจะทำให้เหนียว ได้หน่อไม้ฝรั่งคุณภาพต่ำ

และการให้น้ำหน่อไม้ฝรั่งไม่สม่ำเสมอจะทำให้ลำต้นแตก เป็นสาเหตุทำให้โรคเข้าทำลายได้

การให้ปุ๋ย 

สูตรปุ๋ยที่นิยมใช้กับหน่อไม้ฝรั่ง เพื่อเร่งการแตกหน่อ และฮอโมนเสริมการเติบโตหน่อไม้ฝรั่ง

  • ช่วง 30-45วัน แรก นิยมให้ปุ๋ยละลายน้ำ สูตร 21-0-0 ประมาณ 3 ช้อนชา ต่อน้ำ 20 ลิตร รดให้ทั่วแปลงปลูก ประมาณ 10-15 วันครั้ง แล้วให้รดน้ำตามให้ชุ่ม สลับกับปู่ยสูตรเสมอ 15-15-15 โดยใช้ในอัตราส่วนเดียวกับด้านบน
  • หลังจาก 45 วันเป็นต้นไป ให้เปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยเมล็ด สูตรเสมอ 15-15-15 ประมาณ 20 กรัม ต่อพืนที่ปลูก 1 ตารางเมตร ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ 200-300 ต่อตารางเมตร ประมาณเดือนละครั้ง จนถึงอายุเก็บเกียว
การปลูกหน่อไม้ฝรั่งเชิงการค้า

การทำค้างให้หน่อไม้ฝรั่ง

หลังย้ายกล้าปลูกได้ 2 เดือนควรทำค้างให้กับหน่อไม้ฝรั่ง ใช้ไม้ปักเป็นจุด จุดละ 2 หลัก ใช้เชือกในร่อนขนาดพอเหมาะขึงตามความยาวของแปลง ระยะห่างของไม้ประมาณ 2 เมตร

การเก็บเกี่ยวหน่อไม้ฝรั่ง

หลังปลูกได้ 150 วันหรือ 4-5 เดือน ก็สามารถเก็บหน่อไม้ฝรั่งออกจำหน่ายได้ โดยจะเก็บในช่วงเช้า

สำหรับการทำหน่อขาว ต้องขุดตอนเช้ามืดแล้วใช้มือถอน แล้วกลบดินให้เรียบร้อบ โดยจะทำการเก็บหน่อไม้ฝรั่งต่อเนื่องทุกวัน

สำหรับการเก็บหน่อเขียว ให้เก็บหน่อที่โผล่พ้นดินประมาณ 25 เซนติเมตร หลังการเก็บเกี่ยวล้างเอาดินและสิ่งสกปรกออก แล้วตัดแต่งให้ได้มาตรฐานการรับซื้อตามที่แหล่งรับซื้อได้กำหนดใว้ สิ่งสำคัญสำหรับการเก็บผลผลิตหน่อไม้ฝรั่งต้องไม่ให้หน่อไม้ฝรั่งสำผัสแสงแดดเด็ดขาด

การพักต้นหน่อไม้ฝรั่ง

เมื่อพบต้นหน่อไม้ฝรั่งมีสภาพทรุดโทรม ควรทำการพักต้น โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

  • ตัดแต่งลำต้นแม่เดิมทิ้งเพื่อให้หน่อใหม่เจริญมาแทน
  • ทำการพรวนดินใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์หรือฉีดพ่นด้วยน้ำหมักชีวภาพ
  • ทำการพ่นสารเคมีป้องกันโรคและแมลง
  • ทำการตัดแต่งหน่อที่ขึ้นมาใหม่ ให้เลือกเอาหนอ่ที่สมบูณร์ใว้ประมาณ 4-5 ต้น ต่อกอ
  • แล้วจึงทำการเก็บผลผลิตต่อไป

โรคราและแมลงศัตรู สำหรับหน่อไม้ฝรั่ง

โรคราในหน่อไม้ฝรั่ง

โรคลำต้นใหม้ สาเหตุเกิดจากเชื้อราโฟมอบซิส

  • พบลำต้นเป็นไหม้สีน้ำตาล ยาวรี มีแนวเดียวกับลำต้น ทำให้ต้นโทรมและแห้งตาย
  • การแพร่ระบาดจะเกิดในฤดุฝน และแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วโดยอาศัยน้ำหรือลมพัดพาเชื้อราไปสู่บริเวณใกล้เคียงที่ต้นปรกติอยู่

การป้องกันและกำจัดโรคราในหน่อไม้ฝรั่งที่เกิดจากเชื้อรา โฟมอบซิส

  • ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลาย
  • ใช้สารเคมีที่ควบคุมเชื้อราก่อโรคฉีดพ่น
  • สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อราโฟมอบซิส ประเภทไม่ดูดซึม ได้แก่ ไดเท็นเอ็ม 45 , คูโปรซาน
  • สารเคมีประเภทดูดซึม ที่ใช้กำจัดเชื้อราโฟมอบซิส เช่น เดอโรซาล เบนเลทโอดี ฟันดาโซล โดยเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง

การป้องกันโรคลำต้นไหม้ในหน่อไม้ฝรั่งที่เกิดจากเชื้อราเซอคอสปอร่า

ลักษณะของแผลต้นหน่อไม้ฝรั่งที่เกิดจากเชื้อราชนิดนี้

  • แผลมีสีม่วงแดงหรือม่วงอมน้ำตาล
  • กลางแผลมีสีเทาจะมองเห็นส่วนของเชื้อราเป็นจุดเล็กๆ กระจายอยู่ตรงกลาง
  • ขอบแผลไม่สม่ำเสมอ
  • ขนาดเล็กกว่าแผลที่เกิดจากเชื้อราโฟมอบซิส
  • โรคนี้เป็นได้ทุกส่วนของต้นหน่อไม้ฝรั่ง
  • พบมากที่ปลายกิ่งและใบ
  • ทำให้กิ่งแห้ง ใบร่วง และตาย
  • มีน้ำและลมเป็นพาหะนำเชื้อรา แพร่ระบาดได้ดีในสภาพที่มีความชื้นสูง

การป้องกันและกำจัดโรคลำต้นไหม้ในหน่อไม้ฝรั่งที่เกิดจากเชื้อราเซอคอสปอร่า

  • ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคไปเผาทำลาย
  • ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อราคอสปอร่า สารเคมีประเภทไม่ดูดซึม เช่น คูปราวิท คอปเปอร์กรีน ไตรมิลต๊อกซ์
  • สารเคมีประเภทดูดซึม อาทิเช่น บาวิสติน

การป้องกันโรคแอนแทรคโนสในต้นหน่อไม้ฝรั่งซึ่งเกิดจากเชื้อรา

ลักษณะและอาการหน่อไม้ฝรั่งที่เป็นโรคแอนแทรคโนสที่มีเชื่อราเป็นสาเหตุ

  • แผลรูปไข่ สีฟางข้าว กว้างประมาณ 10 มิลลิเมตร ยาว 25-35 มิลลิเมตร
  • แผลจะยุบเป็นรอยบุ๋มเข้าไปในเนื้อเยื่อพืช
  • มองเห็นส่วนของเชื้อราเป็นตุ่มหรือจุดเล็กๆสีดำเป็นชั้นๆ
  • ส่วนใหญ่พบบริเวณโคนต้น ทำให้ลำต้นหักล้มง่าย
  • แพร่กระจายโดยน้ำและลม

การป้องกันและกำจัดโรคแอนแทรคโนส

  • ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก
  • ใช้สารเคมีประเภทไม่ดูดซึม อาทิเช่น แมนโคเซ็บ คาร์เบนดาซิม หรือ แมนโคเซ็บผสมคาร์เบนดาซิม

การแก้ปัญหาโรคเน่าเละกับหน่อไม้ฝรั่ง

โรคเน่าเละเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เนื้อเยื่อพืชเกิดการเน่าเละ มักเกิดบริเวณยอดของหน่อ เนื้อเยื่อลื่นฉ่ำน้ำมีกลิ่นเหม็น

การป้องกันโรคเน่าเละ

  • ระวังไม่ให้เกิดบาดแผลในขณะทำการเก็บเกี่ยว เพราะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ต้นพืชได้
  • ใส่ปูนขาวที่โคนต้น

การแก้ปัญหาโรคเน่าเปียกในหน่อไม้ฝรั่งโดยมีเชื้อราเป็นสาเหตุของโรค

ลักษณะของโรคเน่าเปียกในหน่อไม้ฝรั่ง

  • ยอดฉ่ำน้ำมีสีเขียว และแห้งเหลืองในที่สุด
  • แผลมีเส้นใยเชื้อรางอกออกมา โดยที่ปลายเส้นใยมีสีดำ มองเห็นได้อย่างชัดเจน
  • แพร่ระบาดในขณะที่มีฝนตกชุก อากาศมีความชื้นสูง

การป้องกันโรคเน่าเปียก

  • ส่วนใหญ่นิยมใช้สารเคมีประเภทดูดซึมทำการฉีดพ่น เช่น ซาพรอล พรอนโต และเทคโต

การป้องกันหนอนและแมลงทำลายหน่อไม้ฝรั่ง

หนอนกระทู้หอม

ส่วนใหญ่จะพบหนอนกระทู้หอมเข้าทำลาย หนอนกระทู้หอมเป็นแมลงจำพวกผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก เมื่อฝักเป็นตัวจะมีหลายสี เช่น สีเขียวอ่อน สีเทา สีน้ำตาล และสีน้ำตาลดำ ผนังลำตัวเรียบอ้วน ขนาดโตเต็มที่ของหนอนกระทู้หอม ประมาณ3 เซนติเมตร มักจะมาอยู่บริเวณโคนต้นหน่อไม้ฝรั่ง เพื่อเตียมพร้อมเข้าดักแด้ในดิน โดยหนอนกระทู้หอมจะเข้าทำลายทุกส่วนของพืช ระบาดมากในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน

การป้องกันและกำจัดหนอนกระทู้หอม

  • เมื่อพบเห็นหนอนกระทู้หอมหรือกลุ่มไข่ในแปลงปลูกให้เก็บทำลายทันที
  • ฉีดพ่นเชื้อแบคทีเรียฆ่าแมลง (Bacillus thuringiensis) เช่น เดลฟิน ดับบิวจี 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบ
  • ฉีดพ่นในช่วงเย็น ทุกๆ 5 วันจนกว่าการระบาดจะลดลง