มากกว่า 16 ธาตุที่พืชต้องการ ในน้ำหมักปลาทะเลเข้มข้นคาวบอย
เป็นที่ทราบกันดีว่าน้ำหมักที่ทำจากปลาทะเล จะพบสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในปริมาณที่มากกว่าน้ำหมักชีวภาพที่ทำจากวัตถุดิบอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุต่างๆ
น้ำหมักปลาทะเลคาวบอยนอกจากจะมีสารอาหารที่พืชต้องการมากกว่า 16 ชนิดแล้ว ยังมีในปริมาณที่เข้มข้นมากกว่าอินทรีย์ชีวภาพทั่วไป
ด้วยกระบวนการผลิตที่แตกต่าง
- ไม่เติมน้ำเปล่า หรือวัตถุดิบที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบในปริมาณมาก อาทิเช่น น้ำมะพร้าว
- ไม่ใช้ความร้อนในการผลิต
- ใช้เอนไซม์จากธรรมชาติ 100%
- ปรับค่าความเป็นกรดด่างให้ไม่เป็นอันตรายต่อพืช ซึ่งแตกต่างจากอินทรีย์ชีวภาพทั่วไป ที่มีความเป็นกรดสูง เมื่อใช้ในปริมาณที่เข้มข้น จะเป็นอันตรายต่อพืช
จึงได้น้ำหมักปลาทะเลเข้มข้นพิเศษมากกว่าอินทรีย์ชีวภาพทั่วไป
น้ำหมักปลาทะเลคาวบอย มีค่าความเป็นกรดด่าง ที่เหมาะสม สามารถใช้ในปริมาณที่เข้มข้นมากกว่าน้ำหมักชีวภาพทั่วไปโดยไม่เป็นอันตรายต่อพืช ดังนั้นการให้น้ำหมักคาวบอยจึงสามารถควบคุมปริมาณ ให้เหมาะสมแต่ละช่วงวัยของพืช ได้ง่ายกว่าน้ำหมักชีวภาพทั่วไป และที่สำคัญช่วยประหยัดเวลาและแรงงาน
รายชื่อสารอาหารต่างๆที่พบในน้ำหมักปลาทะเลคาบอย
1 ธาตุอาหารพืช ( Plant Elements )มากกว่า 16 ธาตุ
– ธาตุอาหารหลัก (Macro Elements)
– ไนโตรเจน N
– ฟอสฟอรัส P
– โพแทสเซียม K
– แคลเซียม Ca
– แมกนีเซียม Mg
– กำมะถัน S
จุลธาตุ (Micro Elements)
– เหล็ก Fe
– แมงกานีส Mn
– ทองแดง Cu
– สังกะสี Zn
– โบรอน B
– โมลิบดินั่ม Mo
– คลอรีน Cl
2.กรดฮิวมิก ( Humic Acid )
มีความสำคัญในการเร่งอัตราการเจริญ เติบโตของรากและลำต้นพืชได้ดี
3.กรดอินทรีย์ (Organic Acid)
– กรดอะซิติก (Acetic Acid)
– กรดแลคติก (Lactic Acid)
ประโยชน์
– เป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์
– ช่วยควบคุมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเน่าเสียและจุลินทรีย์ที่ก่อโรคบางชนิด
– ยับยั้งการเกิดกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่เปลี่ยนรูปไนโตรเจนเป็นแอมโมเนีย (NH3) ซึ่งสูญเสีย ไปได้ง่ายจากการระเหย
– ช่วยละลายสารประกอบอนินทรีย์ของแร่ธาตุบางชนิดให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้
4.กรดอะมิโน ( Amino Acid )
– กรดอะมิโน ให้ธาตุไนโตรเจน ( N ) เร่งการเจริญเติบโตของพืช
– น้ำหมักปลามีองค์ประกอบหลักคือกรดอะมิโน ซึ่งสามารถจับกับธาตุอาหารพืชและเปลี่ยนรูป
เป็นอะมิโนคีแลต
ซึ่งพืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้ดีกว่าการใช้ปุ๋ยในรูปเกลือธรรมดา ส่งผลให้ช่อดอกของพืชมี
ความยาวช่อเพิ่มขึ้น จำนวนดอกและการแตกยอดใหม่ของพืชเพิ่มขึ้น
– กรดอะมิโนช่วยผลิตฮอร์โมนพืชในกลุ่มออกซินได้
5.ฮอร์โมนพืช (Plant Hormone)
– ออกซิน (Auxin) มีผลในการเพิ่มการขยายตัวของเซลล์ กระตุ้นการแบ่งเซลล์ เพิ่มการเกิดราก
การเจริญของรากและลำต้น เพิ่มการออกดอก เปลี่ยนเพศดอก เพิ่มการติดผลดีขึ้น กระตุ้นการ
สุกของผล และ เพิ่มกิจกรรมเอนไซม์
– จิบเบอร์เรลลิน (Gibberellin) มีผลในการกระตุ้นการยืดตัวของเซลล์พืชในทางยาว ทำให้ลำ
ต้นยืดตัวมากขึ้น กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์ ชักนำให้เกิดการงอกของเมล็ดพืช เร่งการออก
ดอก ยืดช่อ ดอกเปลี่ยนเพศดอก เพิ่มการติดผล พัฒนาการเกิดตาข้าง
– ไซโตไคนิน (Cytokinin) มีผลในการกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์การเจริญทางด้านลำต้น
กระตุ้นการเจริญของตาข้างให้เจริญเป็นกิ่งแขนง เพิ่มอัตราการเกิดกระบวนการสังเคราะห์แสง
ป้องกันคลอโรฟิลล์ให้ถูกทำลายช้าลง ทำให้ใบพืชเขียวนานและร่วงหล่นช้า
6.เอนไซม์ (Enzyme)
– เซลลูเลส (Cellulase)
– ฟอสฟาเทส (Phosphatase)
ช่วยย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ให้มีขนาดโมเลกุลเล็กลง เพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
7.สารเปิดปากใบ
ทำให้การให้ปุ๋ยธาตุอาหารพืชทางใบได้ผลรวดเร็วยิ่งขึ้นเพราะพืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารทางปากใบได้ทันที
8.จุลินทรีย์ SM (Super Microbes)
– กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายเซลลูโลส หรือเศษพืช (Cellulolytic Microorganism) ประกอบไปด้วยแบคทีเรีย (Bacteria) รา(Fungi) และ แอคติโนมัยซิท (Actinomycetes) ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มนี้จะปล่อยเอนไซม์ (Enzymes) ออกมาย่อยสลายเศษพืชและซากสัตว์
– กลุ่มจุลินทรีย์ที่ละลายฟอสเฟตและธาตุอาหารพืชอื่นๆให้อยู่ในรูปที่พืชดูดกินได้ทันที
– กลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างฮอร์โมนซึ่งเป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช เช่น ออกซิน (Auxin) จิบเบอร์เรลลิน (Gibberellin) และไซโตไคนิน (Cytokinin) สามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช
– กลุ่มจุลินทรีย์ที่ผลิตสารปฎิชีวนะที่ป้องกันและทำลายโรคพืชเช่นเชื้อรา
– กลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายสารพิษและสารปนเปื้อนในดิน เช่น สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว และปรอท เป็นต้น
– กลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นกลุ่มหลักในกิจกรรมชีวเคมีของ
– วัฏจักรคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน
– วัฏจักรไนโตรเจน
– วัฏจักรฟอสฟอรัส
– วัฏจักรซัลเฟอร์
– การเปลี่ยนแปลงและการหมุนเวียนเหล็ก
9.การปรับปรุงโครงสร้างดิน
กิจกรรมของจุลินทรีย์ช่วยในการปรับปรุงดินให้มีโครงสร้างดี มีลักษณะร่วนซุยและมีการระบายน้ำและอากาศดี ทำให้ดินมีความสามารถดูดซับน้ำและธาตุอาหารพืชสูงขึ้นและช่วยรักษาสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน (ค่า PH) ให้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
อื่นๆ
น้ำหมักปลาประกอบด้วยโปรตีน (กรดอะมิโน) คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และเกลือแร่ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งสารอาหารที่สำคัญของจุลินทรีย์ ดังนั้นในการใส่น้ำหมักจากปลาลงดิน จะส่งเสริมให้จุลินทรีย์มีการเจริญเติบโตและเกิดกิจกรรมในดินเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการย่อยสลายเศษพืชและซากสัตว์ได้เร็วขึ้น และยังทำให้มีการปลดปล่อยธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อพืชมากยิ่งขึ้นด้วย
ด้วยกระบวนการผลิตที่แตกต่างจากอินทรีย์ชีวภาพทั่วไป จึงทำให้น้ำหมักปลาทะเลคาวบอย มีความเข้มข้นของธาตุอาหารมากกว่าอินทรีย์ ชีวภาพ ทั่วทั่วไป ดังนั้นจึงคุ้มค่า ต่อการนำไปใช้ ในการดูแลพืชสวน พืชไร่ สวนผัก สวนยาง สวนปาล์ม ไม้ดอกไม้ประดับ จะเห็นได้ว่า น้ำหมักปลาทะเลคาวบอย มีประโยชน์ทั้งต่อพืชและดิน อย่างเห็นได้ชัด แตกต่างจากปุ๋ยเคมีโดยสิ้นเชิง