น้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเลเข้มข้น (Fish Hydrolysate VS Fish Emulsion )
มารู้จักปุ๋ยปลากันดีกว่า เป็นที่รู้กันดีว่าการนำปลาทะเลมาทำปุ๋ยน้ำชีวภาพนั้นจะได้ปุ๋ยชีวภาพที่อุดมด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อพืชดีกว่าการใช้วัตถุดิบอย่างอื่น เพราะปลาทะเลเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญในตัวปลาจึงมีกรดอะมิโนจำนวนมาก และ ธาตุอาหารพืช ได้แก่ ไนโตรเจนที่อยู่ในโมเลกุลของกรดอะมิโน และน้ำมันต่างๆรวมถึงแร่ธาตุอื่นๆอีกมาก เมื่อนำมาทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจึงได้ปุ๋ยที่มีสารอาหารมากกว่าการใช้วัตถุดิบอย่างอื่นในการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ
แต่วันนี้เรามาทำความรู้จักปุ๋ยปลาชนิดน้ำที่ขายกันอยู่ในปัจจุบันว่าแต่ละชนิดแต่ละยี่ห้อมีกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างกันอย่างไรรวมถึงประสิทธิภาพของแต่ตัว
ปุ๋ยปลา 3 ประเภท (ปุ่ยปลาชนิดน้ำที่มีการนำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงน้ำหมักชีวภาพจากปลา)
- Fish Emulsion มีอยู่หลายยี่ห้อซึ่งส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากต่างประเทศ ปุ่ยปลาประเภทนี้คือของเหลวในขั้นตอนสุดท้ายของการสกัดเอาน้ำมันและคอลลาเจนออกไปแล้ว จากนั้นจึงนำของเหลวนี้มาทำการระเหยน้ำออกไปครึ่งหนึ่ง แล้วนำมาปรับแต่งกลิ่น ก่อนทำการบรรจุเป็นปุ๋ยปลาชนิดน้ำ ปุ๋ยปลาชนิดนี้เรียกว่า Fish Emulsion ซึ่งในขบวนการผลิตมีการใช้ความร้อนสูงมากและเป็นระยะเวลาที่นาน จึงทำให้กรดอะมิโนโปรตีนในปลาถูกทำลาย และยังมีแร่ธาตุอื่นอีกที่ไม่สามารถทนความร้อนสูงได้ ดังนั้นปุ่ยปลาชนิดน้ำประเภทนี้ จึงมีสารอาหารน้อย ผู้ผลิตจึงต้องเติมสารอาหารเข้าไปเพื่อให้ได้ปุ๋ยปลาน้ำที่มีสารอาหารในปริมาณที่ต้องการ เติมสารแต่งกลิ่น ไม่มีกรดอะมิโนโปรตีน มีแร่ธาตุอื่นๆในปริมาณน้อย จึงมีประโยชน์ต่อพืชน้อยเช่นกัน และการใช้ปุ๋ยปลาประประเภทนี้เป็นประจำ ทำให้ผืนดินของเราเสี่ยงต่อการปนเปื้อนโลหะหนักที่มักพบในปุ๋ยปลาชนิดนี้
Fish Hydrolysate ปุ๋ยปลาประเภทนี้เกิดการนำเศษปลาได้แก่ หัวปลา ก้างปลา และใส้ปลา มาหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพจากปลา ชนิดนี้ใช้ขบวนการหมักที่ไม่ใช้ความร้อน เรียกว่า Cold Processed โดยจะใช้เอนไซม์ธรรมชาติในการย่อยสลายโปรตีนในตัวปลาจากโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดโมเลกุลที่เล็กลง ที่เรียกว่า โมโนโมเลกุล อยู่ในรูปกรดอะมิโนโปรตีน ปุ๋ยหมักชีวภาพจากปลาประเภทนี้ จึงมีสารอาหารที่จำเป็นต่อพืชค่อนข้างสูงเพราะไม่ถูกทำลายโดยความร้อน อุดมไปด้วยกรดอะมิโนโปรตีน มีไตรเจนจากธรรมชาติ มีสารอาหารรองและสารอาหารเสริมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชเกือบครบทุกชนิด ได้แก่ แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) กำมะถัน (S) และจุลธาตุได้แก่ โบรอน (B)ทองแดง (Cu)คลอรีน (CI)เหล็ก (Fe)แมงกานีส (Mn)โมลิบดีนัม (Mo)สังกะสี (Znนิกเกิล (Ni) รวมถึงน้ำมันจากปลาแร่ธาตุวิตตามินต่างๆ ปุ๋ยน้ำหมักปลาทะเลประเภทนี้จึงดีต่อพืชอย่างมาก
- Fish Hydrolysate ที่ใช้วิธีการหมักเช่นเดียวกับข้างบน แต่แตกต่างที่วัตถุดิบคือใช้ปลาทะเลทั้งตัวมาหมัก ซึ่งปุ๋ยปลาหมักประเภทนี้ราคาค่อนข้างสูงเพราะนำปลาทั้งตัวมาผลิต แต่จุดเด่นคือเป็นปุ๋ยน้ำหมักปลาชีวภาพที่มีปริมาณสารอาหารที่พืชต้องการค่อนข้างสูงมาก แต่ไม่สูงเหมือนปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ แต่น้ำหมักชีวภาพจากปลาหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากปลาทะเลประเภทนี้ เวลานำไปใช้จะเห็นผลค่อนข้างดีพืชตอบสนองดี มีธาตุอาหารหลักและรองปริมาณมากกว่า 2 ชนิดด้านบน มีกรดอะมิโนโปรตีนสูง และที่สำคัญกรดอะมิโนโปรตีนเหล่านี้สามารถทำตัวเป็นสารคีเลทได้ด้วย ซึ่งจะช่วยให้ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมพืช อยู่ในรูปของสารละคีเลท ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมที่อยู่ในรูปสารละลายคีเลท จะไม่ทำปฎิกิริยากับสารตัวอื่นที่อยู่ในสารละลายเดียวกัน ซึ่งเกิดเป็นของแข็งที่ไม่ละลายน้ำและตกตะกอน อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ไม่ได้ การนำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเลประเภทนี้ไปใช้จะช่วย ให้พืชได้รับสารอาหารรองและอาหารเสริมอย่างสม่ำเสมอ ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างดี
น้ำหมักปลาทะเลเข้มข้น VS Fish Emulsion
ความแตกต่างระหว่าง น้ำหมักปลาทะเลเข้มข้น “คาวบอย” + Fish Emulsion
ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพจากปลาทะเลเข้มข้น
ประโยชน์ต่อดิน
- ช่วยเพิ่มปริมาณของแบททีเรีย และจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
- เป็นอาหารอย่างดีให้กับใส้เดือนดิน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ ดินโปร่ง มีความร่วนซุย อากาสถ่ายเทสะดวก ช่วยให้รากหากินคล่องหายใจสะดวกขึ้น
- ช่วยเพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ให้มีมากขึ้น ทำให้เกิดการปลดปล่อยแร่ธาตุต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อพืชออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งธาตุต่างๆที่ปลดปล่อยออกมานั้น อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที
- ช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน เมื่อมีการย่อยสลายจากจุลินทรีย์มากขึ้น หน้าดินก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ประโยชน์ต่อพืช
- ช่วยเพิ่มอัตราการงอกของเมล็ดพันธ์
- ช่วยทำให้ระบบรากแข็งแรง เนื่องจาก ไมคอร์ไรซา (mycorrhiza) จะช่วยเพิ่มพื้นการดูดซับธาตุอาหารให้กับราก
- ไนโตรเจนจากธรรมชาติช่วยเร่งการเติบโต เร่งการแตกยอดอ่อน
- มีแคลเซียม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในพืช
- มีธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญช่วยในการผลิตคลอโรฟิลล์ ทำให้พืชผลิตอาหารได้มากขึ้น
- มีธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมเกือบครบทุกธาตุ
- มีกรดอะมิโนโปรตีนที่สามารถทำตัวเป็นสารคีเลทได้ โดยการเข้าห่อหุ้มธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง ทำให้ธาตุอาหารเหล่านี้ละลายน้ำได้ ไม่เกิดการตกตะกอน กลายเป็นของแข็ง ซึ่งเป็นรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้
จะเห็นได้ว่า ปุ๋ยปลาแต่ละประเภทนั้นให้คุณค่าต่อพืชต่างกัน ดังนั้นการเลือกซื้อปุ๋ยปลาโดยที่เรารู้ว่าผลิตภัณฑ์ที่เราจะซื้อ เป็นปุ๋ยปลาประเภทใหนก็จะช่วยให้เราได้ในสิ่งที่เราต้องการอย่างแท้จริง และคุ้มค่ากับเงินที่ต้องเสียไป