วิธีแก้ปัญหาทุเรียนใบเหลืองร่วง ทุเรียน ยอดแห้ง ใบเหลือง เพราะโรครากเน่าโคนเน่าเข้าทำลาย

ทุเรียนใบเหลือง
ทุเรียนใบเหลืองร่วงเกิดจากเชื้อไฟทอปธอร่าเข้าทำลายราก

ทุเรียนใบเหลืองร่วง เป็นอาการที่บ่งบอกว่าทุเรียนของคุณกำลังโดนโรครากเน่าโคนเน่าเข้าเล่นงาน
ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในฤดูฝน และจะพบมากในช่วงมีฝนตกต่อเนื่องหลายวัน ซึ่งในกรณีที่เกิดการลุกลามไปทั่วแปลง เพราะขาดการจัดการแปลงที่ถูกต้อง อาจสร้างความเสียหายให้กับแปลงทุเรียนอย่างมหาศาล เพราะว่าโรครากเน่าและโคนเน่า เมื่อโรคระบาดอย่างรุนแรง จะทำให้ทุเรียนยืนต้นตาย

ทุเรียนใบเหลือง เพราะขาดปุ๋ย
ทุเรียนใบเหลืองเพราะขาดแร่ธาตุ

ทุเรียนใบเหลืองจากการขาดธาตุต่างๆ เช่น ไนโตรเจน ธาตุเหล็ก(Fe) แม็กนีเซียม (mg) มีลักษณะดังรูปด้านบน เนื้อใบเหลือง เส้นใบเขียว ใบไม่ลู่ลง ต้นไม่โทรม แตกต่างจากทุเรียนที่เป็นโรครากเน่าโคนเน่า ที่ถูกเชื้อราไฟทอปธอร่าเข้าทำลายระบบรากจะมีอาการใบเหลือง ใบตก และต้นดูโทรมอย่างชัดเจน

ลักษณะอาการของทุเรียนที่เป็นโรครากเน่าโคนเน่า

ทุเรียนใบเหลืองจากโรคราเน่าโคนเน่า
  • ทุเรียนใบเหลืองร่วงใบเริ่มเหลืองเหี่ยวซีดไม่มันเงา
  • รากจะมีสีน้ำตาล รากฝอยเปื่อยยุ่ยง่าย และหลุดง่าย
  • ในระยะเริ่มต้น จะพบใบเหลือง และร่วงบางกิ่ง
  • เมื่อลุกลามจะพบแผล มีสีน้ำตาล มีคาบน้ำ ไหลเยิ้มที่ผิวเปลือก
  • ถ้าใช้หากเอาเปลือกบริเวณนั้นออกจะพบเนื้อไม้เป็นแผลสีน้ำตาล
  • แผลที่เกิดขึ้นมีโอกาสขยายใหญ่จนรอบคนต้น ทำให้ต้นโทรม
  • เมื่อทำการรักษาไม่ทัน จะทำให้ใบร่วงหมดต้น กิ่งแห้งตาย ทำให้ต้นทุเรียนยืนต้นตาย
ทุเรียนใบเหลืองใบร่วงยืนต้นตาย
ต้นทุเรียนยืนต้นตายจากโรครากเน่า

การรักษาอาการทุเรียนใบเหลืองร่วงที่เกิดโรครากเน่าและผลเน่าในทุเรียนในระยะเริ่มต้น

เมื่อพบเกิดการระบาดในระยะเริ่มต้น ให้ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรค นำไปเผานอกบริเวณแปลง
ใช้เมทาแลกซิล 20% ในอัตราส่วน 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม
หากพบอาการโรคบนกิ่งหรือโคนต้น ให้ถากหรือขูดผิวเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออก แล้วให้

สารเคมีกำจัดเชื้อราแก้ทุเรียนใบเหลือง

วิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา

  • ทาด้วย ฟอสอีทิล–อะลูมิเนียม 80% ดับเบิลยูพี อัตรา 80-100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร
  • เมทาแลกซิล 25% ดับเบิลยูพี อัตรา 50-60 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร
  • เมทาแลกซิล+แมนโคเซบ 65% ดับเบิลยูพี อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ทาทุก 7 วันจนกว่าแผลจะแห้ง
  • ฟอสโฟนิก แอซิด 40% เอสแอล ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1 : 1 ใส่กระบอกฉีดยาฉีดเข้าลำต้นหรือกิ่งในจุดตรงข้ามที่เกิดโรค หรือส่วนที่เป็นเนื้อไม้ดีใกล้บริเวณที่เป็นโรค หรือส่วนที่เป็นเนื้อไม้ดีใกล้บริเวณที่เป็นโรค ในอัตรา 20 มิลลิลิตรต่อต้น
ยาป้องโรคทุเรียนใบเหลือง

การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาป้องกันกำจัดเชื้อราไฟทอปธอร่า

ไตรโคเดอร์มาคือเชื้อราที่มีประโยชน์ สามารถควบคุมและกำจัดเชื้อราไฟทอปธอร่าที่เป้นเชื้อราสาเหตุก่อให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน

  • ฉีดพ่นหรือหว่านเชื้อในแปลงปลูกทุกๆ 7 วัน ครั้ง
  • รักษาอินทรีย์วัตถุในแปลงเพื่อให้เป็นแหล่งที่อยู่และเป็นอาหารของเชื้อไตรโคเดอร์มา

3 วิธีง่ายๆใน การป้องกันการเกิดโรคเน่าโคนเน่าในทุเรียน

ทุเรียนใบเหลืองป้องกันได้
สวนทุเรียนที่ออกแบบแปลงให้ระบายน้ำได้ดี
  • หมั่นสังเกตต้นทุเรียนและกำจัดวัชพืชในแปลงอย่างสม่ำเสมอ
  • สร้างระบบระบายน้ำที่ดีในแปลงปลูกทุเรียน ไม่ให้มีน้ำท่วมขัง
  • ตัดแต่งทรงพุ่ม และคนต้นให้มีลักษณะโปร่ง แสงแดดส่องได้ทั่วถึงอากาศถ่ายเทได้สะดวก
ปุ๋ยแก้ทุเรียนใบเหลือง

ด้วยวิธีง่ายๆดังที่กล่าวมาข้างต้นก็จะช่วยให้สวนทุเรียนของคุณ ปลอดภัยจากโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียนได้อย่างแน่นอน อย่าลืมนะครับมันสังเกตแปลงทุเรียน ดูแลอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเกิดโรคระบาดอย่างโรครากเน่าและโคนเน่า จะได้แก้ปัญหาอย่างทันท่วงที ลดความเสียหายกับแปลงทุเรียน

Cowboy Plant Foods

ติดต่อเรา