
โรครากเน่าในทุเรียน (เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอร่า)
โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน เกิดจากเชื้อราเลวในดิน ที่ชื่อ ไฟทอปธอรา (Phytophthora palmivora) เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กอาศัยอยู่ในดินมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เป็นเชื้อราที่ทนทานต่อความแห้งแล้ง สปอร์สามารถอยู่ในดินที่ขาดน้ำได้เป็นเวลานานโดยไม่เกิดการระบาดขยายพันธุ์ในหน้าแล้ง ทำให้ดูเหมือนในสวนทุเรียนไม่มีเชื้อราชนิดนี้อยู่
แต่เมื่อเข้าหน้าฝนมักเกิดการระบาดของโรคเนื่องจากสปอร์ของเชื้อไฟทอปธอราที่อาศัยอยู่ในดินได้รับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์
โปรโมชั่น Trico-Z
Trico-Z เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดผงสำเร็จรูปผสมน้ำราดลงดินหรือฉีดพ่นได้ทันที ปกป้องทุเรียนจากโรครากเน่าโคนเน่า ใช้ง่ายปลอดภัยสร้างบรรยากาศที่ดีในสวนทุเรียน

สาเหตุ ที่ทำให้ทุเรียนเป็นโรครากเน่า โคนเน่า ถูกเชื้อราไฟทอปธอร่าเข้าทำลาย
- ต้นทุเรียนอ่อนแอ
- มีฝนตกชุกตลอดเวลา
- ดินแฉะตลอดเวลา (อาจเกิดจากการรดน้ำที่มากเกินไป )
- ดินเสื่อมโทรมเพราะใช้สารเคมีมากเกินไป

อาการที่บอกว่าต้นทุเรียนเป็นโรครากเน่าโคนเน่า
- ยอดเหี่ยว ยอดแห้ง
- ใบเหลือง ใบไหม้ และเมื่อรากทุเรียนเน่าเป็นส่วนมากก็จะทำให้ใบร่วงหล่นจากต้น
- กิ่ง ลำต้น จะพบคราบน้ำเยิ้มที่เปลือกของลำต้น หรือกิ่ง บริเวณที่เป็นโรค
- รากเน่าเป็นสีน้ำตาลเปื่อยยุ่ย
วิธีการป้องกัน รักษาโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน
หลักการที่สำคัญคือการควบคุมเชื้อราไฟทอปธอร่าในสวนทุเรียนไม่ให้มีปริมาณมากจนก่อให้เกิดโรคได้ โดยวิธีที่ทำได้ง่ายที่สุดคือ ใช้สารชีวภัณฑ์เช่นเชื้อรา ไตรโคเดอร์มา (Thichoderma spp.)หรือเชื้อบาซิลลัสซับทีลีส (Bacillus subtilis) ที่มีความสามารถกำจัดควบคุมเชื้อราไฟทอปธอร่า (Phytophthora) 1-2 ต่อเดือน เพียงเท่านี้ก็ลดโอกาศของโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียนได้มาก
และการใช้สารเคมีและปุ๋ยเท่าที่จำเป็นและพอดีจะช่วยให้ต้นทุเรียนมีความแข็งแรงทำให้ต้านทานต่อการเกิดโรค
เมื่อพบการระบาดของโรคให้ทำตามขั่นตอนต่อไปนี้
- เก็บชิ้นส่วนต่างๆของทุเรียนทีเป็นโรคร่วงหล่นเช่น ผลเน่า กิ่งแห้ง นำไปเผาทำลายนอกแปลงทุเรียน
- ถากเปลือกส่วนที่เป็นโรคออกให้หมดจนถึงเนื้อไม้ แล้วทาแผลด้วยสารกำจัดโรคพืช
- ถากเนื้อเยื่อตรงส่วนที่เป็นโรคออกบางๆ แล้วทาด้วยสารฆ่าเชื้อราประเภทดูดซึม เช่น เมตาแลคซิล หรือ ฟอสเอสเอทธิล อลูมินั่ม
- ฉีดสารฟอสฟอรัสแอซิด (Phosphorous acid)เข้าลำต้น โดยผสมสารเข้ากับน้ำสะอาดในอัตราแนะนำ
- ลดปริมาณเชื้อราก่อโรคในดิน โดยใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มาร่วมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงในดินเป็นประจำ จะช่วยเพิ่มปริมาณเชื้อไตรโคเดอร์มาในดินให้มีมากจนควบคุมทำลายเชื้อราก่อโรค ไม่ให้มีมากจนก่อให้เกิดโรคได้

ชุดรักษาทุเรียนรากเน่าต้นโทรมจากเชื้อราไฟทอปธอร่า
Trico-Z คือเชื้อราไตรโคเดอร์มาสำเร็จรูปช่วยควบคุมกำจัดเชื้อราก่อโรคในทุเรียน กำจัดเชื้อราไฟทอปธอร่า(Phytophthora)
Growbooster สารสกัดอินทรีย์ชีวภาพช่วยฟื้นฟูเร่งสร้างรากใหม่ ช่วยให้เชื้อไตรโคเดอร์มาขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณได้อย่างรวดเร็ว และGrowbooster ยังให้แร่ธาตุที่สำคัญต่อการเติบโตของทุเรียนมากกว่า 16 ธาตุ
ใช้ Trico-Z ร่วมกับ Growbooster ป้องกันรักษาทุเรียนรากเน่าต้นโทรม ทั้ง2ตัวนี้ผสมร่วมกันฉีดพ่นหรือราดดินบริเวณโคนต้น ทุกๆ 7-10 วันครั้ง เพียงแค่นี้ทุเรียนก็ห่างไกลโรครากเน่าโคนเน่า
โรครากเน่าในทุเรียนป้องกันง่าย กว่าการรักษา ดังนั้นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญคือการป้องกัน โดยสร้างต้นทุเรียนให้แข็งแรงโดยใส่ปุ๋ยแต่พอดี ใช้สารเคมีเท่าที่จำเป็น สร้างความสมดุลย์ให้ดิน เพิ่มจุลินทรีย์ดีให้ดินเช่นใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาบ่อยๆ เชื้อไตรโคเดอร์มามีความสามารถควบคุมกำจัดเชื้อไฟทอปธอรา ป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน ใส่อินทรีย์วัตถุหรือปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีช่วยให้ต้นทุเรียนโตอย่างแข็งแรงเพราะได้รับแร่ธาตุครบถ้วนทั้งธาตุอาหารหลักที่มีมากในปุ๋ยเคมีและธาตุรองเสริมที่พบได้ในปุ๋ยอินทรีย์
การแพร่ระบาดของโรค
เกิดจากเชื้อราก่อโรคที่อาศัยอยู่ในดิน สามารถเจริญเติบโตขยายพันธุ์ได้โดยใช้ส่วนที่เรียนว่าสปอร์ เชื้อราก่อโรคนี้อาศัยอยู่ในดินทั่วๆไป พบได้ทุกพื้นที่เป็นเชื้อราที่ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี การขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณของเชื้อราจะเกิดขึ้นเมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สามารถแพร่ระบาดได้โดยถูกลมพัดพา ใหลไปกับน้ำ หรือติดอุปกรณ์ทำสวน และดินปลูก ร่วมถึงติดมากับกิ่งพันธุ์