1. ใบเหลือง เพราะขาดธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมรวมถึงธาตุหลักอย่างไนโตรเจน
ทุเรียนใบเหลืองเพราะขาดธาตุแมกนีเซียมและธาตุเหล็ก มักพบในแปลงทุเรียนที่ปลูกในดินทรายหรือดินร่วนปนทราย ซึ่งโดยปกติดินทรายจะมีแมกนีเซียม และธาตุเหล็กค่อนข้างต่ำ
ลักษณะอาการทุเรียนใบเหลืองที่เกิดจากการขาดธาตุแมกนีเซียม
เกิดที่ใบเพสลาด อาการเหลืองจะเป็นที่แผ่นใบ แต่เส้นกลางใบจะเป็นสีเขียว ลักษณะคล้ายใบหอก คือ แถบกว้างจาก ขั้วใบ แล้วเรียวแหลมลงไป จนถึงปลายใบ ซึ่งเป็นอาการขาดธาตุแมกนีเซียม
ลักษณะอาการทุเรียนใบเหลืองที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก
ใบเหลืองเฉพาะที่ใบอ่อน หรือใบเพสลาด ถ้าเป็นใบอ่อน ใบจะมีขนาดเล็กกว่าปกติ แผ่นใบ และเส้นกลางใบจะเหลืองซีดทั้งแผ่น ซึ่งเป็นอาการขาดธาตุเหล็ก
โดยส่วนใหญ่จะพบว่าทุเรียนใบเหลืองที่เกิดจากการขาดธาตุแมกนีเซียมและธาตุเหล็กนั้นมักจะเกิดผสมผสานอยู่ในต้นเดียวกัน ซึ่งมักพบในทุเรียนที่ปลูกในดินร่วนปนทราย หรือดินทราย ที่มีธาตุแมกนีเซียมและธาตุเหล็กค่อนข้างต่ำ
Grow Booster แก้ทุเรียนเล็กใบเหลืองจากการขาดธาตุอาหาร
ป้องกันแก้ไขทุเรียนใบเหลือง ช่วยให้ทุเรียนปลูกใหม่รัดไว โตอย่างต่อเนื่อง มากกว่า 16ธาตุที่พืชต้องการในขวดเดียว สกัดจากปลาทะเลเร่งยอด เร่งโตในทุเรียนเล็ก สร้างระบบรากให้แข็งแรง
GrowBooster ช่วยให้การดูแลทุเรียนปลูกใหม่ทำได้ง่าย
เร่งสร้างราก แตกยอด เสริมสร้างการเติบโตอย่างสมบูรณ์ ป้องกันทุเรียนเล็กใบเหลืองจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ช่วยให้ทุเรียนปลูกใหม่ตั้งตัวไว
อาการใบเหลืองของทุเรียนที่พบบ่อยอีกประการหนึ่งคือ การใช้ปุ๋ยยูเรียเพื่อเร่งการเจริญเติบโต
ทางด้านกิ่งก้านสาขาของต้นทุเรียน โดยไม่มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วย จึงทำให้ขาดธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม ดังนั้นต้นทุเรียนที่มีธาตุไนโตรเจนมากเกินไปจะลดอัตราการดูดซึมธาตุแมกนีเซียมลง จึงทำให้ต้นทุเรียนขาดธาตุแมกนีเซียม ส่งผลทำให้ธาตุเหล็กมีประโยชน์ลดลงด้วย ทำให้ต้นทุเรียนแสดงอาการใบเหลือง ที่เกิดจากการขาดธาตุแมกนีเซียมและธาตุเหล็ก ซึ่งจะเป็นปัญหาสำหรับการเตรียมต้นทุเรียนให้พร้อมสำหรับการออกดอกได้ทัน กับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมได้
2. เพราะเกิดจากการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชไม่ถูกวิธี
ต้นที่มีใบเหลืองเฉพาะที่ใบอ่อนหรือใบเพสลาด ที่เกิดจากการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชไม่ถูกวิธี ส่วนใหญ่เกิดจากการที่เกษตรกร ใช้สารในกลุ่มพาราควอต กลุ่มไกลโฟเสท ในอัตราสูงกว่าที่กำหนดให้ใช้ ฉีดพ่นกำจัดวัชพืชบริเวณทรงพุ่มของทุเรียน ทำให้ปริมาณสารเคมีส่วนเกินสัมผัสกับรากทุเรียน ทำให้รากแห้งตายบางส่วน อาการทุเรียนใบเหลืองดังกล่าวมักจะพบหลังจากฉีดสารเคมีไปแล้วประมาณ 1 สัปดาห์
การแก้ปัญหาทุเรียนใบเหลืองที่เกิดจากการใช้สารกำจัดวัชพืช
- ให้ทำการตัดแต่งกิ่ง
- ให้น้ำทุเรียนอย่างเพียงพอ
- ใส่ปุ๋ยบำรุงทุเรียน
3. ทุเรียนใบเหลืองที่เกิดจากโรครากเน่าโคนเน่าเข้าทำลาย
ส่วนใหญ่ต้นทุเรียนจะมีใบเหลืองทั้งต้น ใบไม่ค่อยสมบูรณ์ ใบด้าน ใบเหลืองทั้งแผ่นใบและเส้นกลางใบ
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่า
- ใช้ต้นกล้าทุเรียนที่อยู่ในถุงชำนานกว่า 1 ปี ซึ่งทำให้รากขดหรือเกิดรากงอ
- การขุดหลุมปลูกทุเรียนลึกเกินไป ทำให้มีน้ำขังบริเวณโคนต้นทุเรียน
- พื้นที่การปลูกทุเรียนมีการระบายน้ำไม่ดี
Trico-Z เชื้อราไตรโคเดอร์มาแก้ใบเหลืองร่วงจากโรครากเน่าโคนเน่า
ป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน ปกป้องรากทุเรียนจากเชื้อราไฟทอปธอร่าทำลายระบบราก ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นประจำทำให้รากทุเรียนแข็งแรงกินปุ๋ยเก่ง ช่วยให้ทุเรียนโตไว
ซึ่งสาเหตุหลักของอาการประเภทนี้ มักเกิดจากมีโรครากเน่าเข้าทำลายตรงบริเวณรากที่งอหรือขด ซึ่งรากจะเบียดชิดกัน จนเกิดรอยแผล เชื้อราไฟทอปเทอราจะเข้าทำลายได้ง่าย ทำให้เกิดอาการรากเน่า และมีการขยายขนาดของแผลเน่าอยู่เสมอ ส่งผลให้รากฝอยบางส่วนแห้ง ทำให้ประสิทธิภาพ ในการดูดน้ำ และธาตุอาหารลดลง ดังนั้น การจัดการ เพื่อเตรียมความพร้อมของต้นทุเรียนประเภทนี้ จำเป็นต้องรักษาโรครากเน่าไปพร้อมๆ กับการกระตุ้นพัฒนาการของระบบรากให้สำเร็จ ก่อนการจัดการอื่นๆ
Cowboy Plant Foods