ปุ๋ยอินทรีย์ คืออะไร
ปุ๋ยอินทรีย์ (Organic Fertilizer) หรือ ปุ๋ยหมัก (Compost) คือ ปุ๋ยที่ได้จากการนำวัตถุดิบจากธรรมชาติที่เรียกว่าอินทรีย์วัตถุมาผ่านขั้นตอนต่างๆอาทิ เช่น การบด สับ ร่อนหรือการสกัด หรือใช้วิธีการอื่นๆ และนำมาหมักเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีด้วยการย่อยสลายโดย จุลินทรีย์กลุ่มใช้ออกซิเจน (Aerobic Microorganisms) จนได้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นประโยชน์ต่อพืช
ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้ง่ายๆต่อการผลิตด้วยตัวเอง ช่วยลดต้นทุนเรื่องปุ๋ยซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในภาคการเกษตร
ประเภท ของ ปุ๋ย อินทรีย์
ปุ๋ยอินทรีย์เป็นปุ๋ยที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติมาทำ ดังนั้นปุ๋ยอินทรีย์จึงเป็นปุ๋ยที่เราสามารถผลิตได้ด้วยตัวเองและยังมีวางขายตามท้องตลาดทั่วไปจำนวนมาก ซึ่งปุ๋ยอินทรีย์ที่วางขายในร้านเกษตรเคมีภัณฑ์ทั่วไปส่วนใหญ่ จะเป็นปุ๋ยที่อยู่ในรูปของปุ๋ยเม็ดเพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้งาน แต่ปุ๋ยอินทรีย์มีหลายประเภท ทั้งในรูปปุ๋ยน้ำ และในรูปปุ๋ยผงและปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติ
หลายคนอาจจะยังนึกภาพไม่ออก มาดูกันเลยว่าปุ๋ยอินทรีย์มีกี่ประเภทกันครับ
- ปุ๋ยคอก : จัดเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ได้จากมูลสัตว์ อาทิเช่นมูลวัว มูลช้าง มูลควาย มูลไก่ มูลค้างคาง เป็นต้น สำหรับการนำปุ๋ยคอกมาใช้ ควรนำปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์ที่แห้งสนิดหรือมูลสัตว์ค้างปี ง่ายๆก็คือมูลสัตว์เหล่านั้นต้องผ่านการย่อยสลายอย่างสมบูรณ์แล้ว จึงสามารถนำมาใช้ได้โดยที่ไม่เกิดอันตรายกับพืช
- ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยอินทรีย์ประเภทนี่ได้จากการปลูกพืชที่ให้ธาตุอาหารมาก อาทิเช่น ปอเทือง แล้วทำการไถกลบให้ปล่อยให้ย่อยสลายไปตามธรรมชาติ พืชที่นิยมปลูกพืชทำปุ๋ยพืชสด ส่วนมากเป็นพืชตะกูลถั่วที่ให้ธาตุไนโตรเจนสูง
- ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ คือการนำวัตถุดิบใกล้ตัวที่สามารถนำมาหมักเป็นปุ๋ยได้ อาทิ เช่น เศษพืชผัก เศษปลาหรือสัตว์ที่เป็นศัตรูพืชอย่างหอยเชอรี่มาหมักรวมกันในถังหมัก ซึ่งสูตรการทำปุ๋ยอินทรีย์หรือน้ำหมักชีวภาพ มักมีส่วนผสมในอัตราส่วนต่อไปนี้
- ปุ๋ยหมัก คือปุ๋ยที่ได้จากการนำเอาอินทรีย์วัตถุต่างๆ เช่น เศษพืชที่เหลือจากการแปรรูปแล้ว อาทิ เศษฟางที่เหลือจากนำเอาเม็ดข้าวออกแล้ว ทลายปาล์มน้ำมันจากโรงงานน้ำมันปาล์ม
หรือเศษพืชผักต่างๆ โดยใช้จุลินทรีย์จากมูลสัตว์ในการย่อยสลายเศษซากพืชเหล่านั้นให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ในปัจจุบันการผลิตปุ๋ยอินทรีย์โดยการหมักได้มีการพัฒนาวิธีการผลิตให้สามารถทำได้ง่ายและมีต้นทุนในการผลิตต่ำเพื่อให้เกษตรกรสามารถทำได้ด้วยตนเอง
ซึ่งเป็นการผลิตปุ๋ยใช้เองจะช่วยลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้เกษตรกรมีกำไรมากยิ่งขึ้น และการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ยังเป็นการปรับปรุงดินให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นซึ่งจะส่งผลดีต่อการเพราะปลูกพืชในระยะยาว
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ที่ผ่านการย่อยไม่สมบูรณ์
- ปุ๋ยที่ผ่านการหมักไม่สมบูรณ์จะมีแมลงจำนวนมาก ซึ่งแมลงที่ติดมาเหล่นี้อาจเข้าทำลายพืชที่เราปลูกได้
- ในปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักไม่สมบูรณ์จะเต็มไปด้วยเชื้อโรค ซึ่งเชื้อโรคเหล่านั้นอาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคพืชได้
- ทำให้พืชขาดไนโตรเจน เมื่อเรานำปุ๋ยที่ผ่านการหมักไม่สมบูรณ์มาใส่ให้พืช จะทำให้ดินบริเวณนั้นขาดไนโตรเจนเพราะจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ จะย่อยสลายอินทรีย์วัตถุที่เหลืออยู่ในปุ๋ยหมักที่ผ่านการย่อยไม่สมบูรณ์ ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้ต้องใช้ไนโตรเจนเป็นอาหารพวกมันจึงดูดไนโตรเจนไว้ ทำให้ดินบริเวณนั้นขาดไนโตรเจนจึงส่งผลให้พืชขาดธาตุไนโตรเจน
ปุ๋ยอินทรีย์ คุณภาพสูง
ปุ๋ยอินทรีย์จะมีคุณภาพสูงแค่ใหน ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้ผลิตปุ๋ย ดังนั้นวัตถุดิบคือหัวใจของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์จะมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับวัตถุดิบนั้นเอง
แต่วัตถุประสงค์หลักที่เรานำปุ๋ยอินทรีย์มาใช้ก็เพื่อเป็นการปรับปรุงดิน เพราะฉะนั้น การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยตัวเองจึงเป็นทางเลือกที่ดี สำหรับการนำมาใช้ปรับปรังสภาพดินที่เสื่อมโทรมจากการใช้ปุ๋ยเคมีมาอย่างยาวนาน วัตถุดิบที่ใช้ผลิตปุ๋ยจึงควรเป็นวัตถุดิบที่หาได้สะดวก มีมากในพื้นที่
แต่ถ้าเราไม่สะดวกผลิตด้วยตัวเองการซื้อปุ๋ยอินทรีย์มาใช้ก็เป็นทางออกที่ดี แต่เราต้องรู้วิธีการเลือกปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพ
เคล็ดลับเลือกซื้อปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
เลือกปุ๋ยอินทรีย์อย่างไร ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของเรา
เช่นเราต้องการปุ๋ยอินทรีย์มาใช้ในการปรับปรุงดินที่เสื่อมโทรมจากการใช้ปุ๋ยเคมีมานาน ก็เลือกปุ๋ยอินทรีย์ที่มีราคาถูกหน่อย ในปัจจุบันมีกลุ่มชาวบ้านรวมตัวกันเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้และจำหน่ายส่วนใหญ่ใชัวัตถุดิบที่มีมากในชุมชน และจำหน่ายราคาไม่แพง
แต่สำหรับใครที่ทำเกษตรอินทรีย์เพื่อจำหน่ายผลผลิตออแกนิค การเลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะส่งผลผต่อคุณภาพของผลผลิต ดังนั้นการเลือกปุ๋ยอินทรีย์มาใช้ในกิจการเกษตรประเภทนี้ต้องเลือกต้องใส่ใจเป็นพิเศษเลือกให้เหมาะสมกับพืชและตรงตามความต้องการของพืชในขณะนั้น เช่นช่วงออกดอก เราก็ควรใส่ปุ๋ยที่มีส่วนผสมของธาตุฟอสฟอรัสสูงเพื่อช่วยให้พืชออกดอก ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับปุ๋ยอินทรีย์ที่ส่วนใหญ่มักมีธาตุไนโตรเจนมากเป็นพิศษ
พิจราณาวัตถุดิบและส่วนผสมต่างๆที่นำมาผลิตปุ๋ย
ปุ๋ยอินทรีย์จะมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อมากน้อยแค่ใหนก็ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาผลิตปุ๋ย ดังนั้นหัวใจสำคัญของการผลิตปุ๋ยอินทรีคุณภาพสูง คือวัตถุดิบนั่นเอง ฉนั้นการเลือกซื้อปุ๋ยอินทรีย์ที่วางขายทั่วไปตามท้องตลาด เราควรอ่านส่วนผสมที่นำมาผลิตปุ๋ยที่จะต้องแสดงที่ข้างบรรจุภัณฑ์ ซึ่งพอจะบอกถึงคุณภาพของปุ๋ยได้บ้างถึงแม้จะไม่ 100เปอร์เซต์ก็ตาม
สำหรับปุ๋ยอินทรีย์น้ำ หรือน้ำหมักชีวภาพซึ่งในปัจจุบันมีจำ หน่ายอยู่ทั่วไป การเลือกซื้อก็ควรดูที
วัตถุดิบที่นำมาผลิต ซึ่งปุ๋ยที่ผลิตจากสัตว์จะให้ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมากกว่าปุ๋ยที่ผลิตจากพืช สำหรับคุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์น้ำนอกจากดูที่วัตถุดิบแล้ว กรรมวิธีในการผลิตก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งงส่วน
ใหญ่น้ำหมักชีวภาพจะมีน้ำเป็นองค์ประกอบหลัก จึงทำให้น้ำ หมักชีวภาพที่มีความเข้มข้นของ สารอาหารที่เป็นประโยชน์ในปริมาณน้อย
มีมาตรฐานรับรองและมีการระบุแหล่งผลิตที่ชัดเจน
ในปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้ออกใบรับรองให้กับผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อควบคุมมาตรฐานคุณภาพให้ได้ตามที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค และที่บรรจุภัณฑ์ควรแสดงสถานที่ผลิตที่ชัดเจน
ปุ๋ยอินทรีย์ ดีอย่างไร
ในปัจจุบันมีการนำปุ๋ยอินทรีย์มาใช้มากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมากเนื่องมาจากผลผลิตที่ตกต่ำและการปลูกพืชชที่ไม่ค่อยได้ผลในแปลงเพราะปลูกที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีมาอย่างยาวนาน ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพขาดอินทรีย์วัตถุ โครงสร้างดินแน่น ขาดธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องปรับปรุงดินเพื่อให้เป็นดินที่มีคุณสมบัติที่ดีต่อการเจริญเติบโตของพืช การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จึงเป็นวิธีที่เร็วที่สุดที่จะช่วยฟื้นฟูดิน นอกจากเป็นการเติมอินทรีย์วัตถุลงไปในดินแล้ว ยังเป็นการเติมธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อยแต่ขาดไม่ได้อย่างธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมให้กับดินอีกด้วย ซึ่งจุดเด่นของปุ๋ยอินทรีย์คือมีอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารรองและเสริมเกือบครบทุกธาตุที่พืชต้องการ
ปุ๋ยอินทรีย์ ข้อดี
ข้อดี ของ ปุ๋ย อินทรีย์
- ไม่มีสารเติมเต็มหรือฟิลเลอร์ ซึ่งพบได้ในปุ๋ยเคมีซึ่งสารเติมเต็มเมื่อใส่ลงไปในดินบ่อยๆจะทำให้ดินแน่น แข็ง รากพืชซอนไชได้ยากเป็นสาเหตุหลักที่ทำลายโครงสร้างของดิน
- ปุ๋ยอินทรีย์ช่วยปรับความสมดุลให้ดินไม่ให้เป็นกรดแก่หรือเบสแก่ เกินไป
- มีธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมที่พืชต้องการอยู่เกือบครบทุกธาตุ ถึงแม้จะมีปริมาณไม่มากแต่ก็เพียงพอต่อความต้องการของพืช ซึ่งจุลธาตุพวกนี้เป็นสิ่งธาตุอาหารที่พืชต้องการในปรมาณน้อย แต่ขาดไม่ได้ พืชที่ขาดธาตุอาหารประเภทจุลธาตุจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต
- ปุ๋ยอินทรีย์ช่วยเพิ่มปริมาณสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในดินซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชและดิน
- ช่วยปรับโครงสร้างและความสมดุลให้กับดิน
ข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์
- มีปริมาณธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปรแตสเซียมน้อยกว่าปุ๋ยเคมีในปริมาตรเดียวกัน
- ต้นทุนในการใช้งานและการขนย้ายแพงกว่าปุ๋ยเคมีเพราะต้องใช้ในปริมาณมากกว่า
- ยากต่อการควบคุมการให้ธาตุอาหารพืชแบบเฉพาะเจาะจงได้ในกรณีพืชขาดธาตุใดธาตุหนึ่ง
ปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุอาหารอะไรบ้าง
เป็นที่รู้กันว่าในปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุอาหารที่พืชต้องอยู่เกือบครบทุกธาตุ ไม่ว่าจะเป็นธาตุอาหารหลัก อย่าง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปรแตสเซียม รวมถึงธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม ซึ่งธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์ที่ว่านั้น มีอะไรกันบ้างเรามาทำความรู้จักกับธาตุเหล่านั้นอย่างละเอียดกันครับ
จำนวนธาตุอาหารที่พบในปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านการหมักอย่างสมบูรณ์จะธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชถึง 16 ชนิด
ธาตุอาหารหลัก คือธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมากเพื่อสร้างการเจริญเติบโต จึงจัดเป็นธาตุอาหารหลัก ได้แก่
- ไนโตรเจน พืชที่ขาดธาตุไนโตรเจน ลักษณะใบมีสีเขียวซีดจางแล้วเหลือง โดยเฉพาะใบแก่ที่อยู่ตอนล่างของพืช และทำให้ต้นพืชโตช้า
- ฟอสฟอรัส พืชที่ขาดธาตุฟอสฟอรัส ใบจะมีลักษณะสีม่วงแดงบนแผ่นใบ เส้นใบ ลำต้นจะปรากฏเด่นชัดทางด้านใต้ใบ ขอบใบม้วนงอไหม้ โตช้า ต้นผอมสูง ทำให้ผลแก่ช้ากว่าปกติ
- โปรแตสเซียม อาการของพืชที่ขาดธาตุโปรแตสเซียม ขอบใบม้วนงอ ใบแห้งเป็นมัน มีจุดสีน้ำตาลอยู่ทั่วไป พบเห็นชัดเจนในใบตอนที่อยู่ส่วนล่าง ๆ ของต้นพืช ลักษณะอาการในต้นพืชคือ ต้นโตช้า อาการที่ผลราก ผลสุกไม่สม่ำเสมอ ถ้าเป็นมะเขือเทศเนื้อจะเละ
ธาตุอาหารรอง คือธาตุอาหารที่พืชต้องการปริมาณน้อยแต่ขาดไม่ได้ ซึ่งถ้าขาดก็จะส่งผลกระทบต่อผลผลิต ได้แก่
- แคลเซียม (c ) พืชที่ขาดแคลเซียมจะมีอาการใบเหลือง มีจุดประขาวบนใบส่วนยอด ยอดอ่อนม้วนงอ ขอบใบหยักเป็นคลื่น โตช้า
- แม็กนีเซียม (Mg) อาการขาดธาตุแม็กนีเซียมในพืช ใบมีจุดประสีเหลืองอยู่ทั่วทั้งใบ เด่นชัดที่ใลแก่ หรือใบที่อยู่ตอนล่างของต้น ของมีจุดสีน้ำตาล ปลายใบบแห้งเป็นสีน้ำตาล
- กำมะถัน (s) พืชที่ขาดกำมะถันจะแสดงอาการที่ใบส่วนล่างและใบแก่จะมีสีเหลือง ส่วนที่ลำต้นจะแข็งแต่บอบบาง
ธาตุอาหารเสริม คือธาตุอาหารที่พืชต้องการใช้ในปริมาณที่น้อยมากๆ แต่พืชก็ขาดธาตุอาหารเหล่านี้ไม่ได้เช่นกัน ธาตุอาหารกลุ่มนี้ได้แก่
- เหล็ก (Fe) พืชที่ขาดธาตุเหล็กจะมีลักษณะอาการที่แสดงที่ใบคือ ใบอ่อนหรือใบส่วนยอดมีสีเหลืองและมีขนาดเล็กกว่าปกติ
- แมงกานิส (Mn) ในพืชที่ขาดแมงกานิส ใบจะมีขนาดเล็กผิดปกติ ยอดมีสีเหลือง ใบมีสีเหลือง โดยที่เส้นใบยังคงมีสีเขียวอยู่ มีจุดสีน้ำตาลเล็ก ๆ และอาจจะขยายวงกว้าง สำหรับในข้าวโพดมีแถบสีเหลืองแคบ ๆ ส่วนลักษณะที่แสดงลำต้นคือ ต้นพืชผอมโกร่ง มีขนาดเล็ก ติดผลน้อย
- โบรอน (B) อาการขาดโบรอนในพืชจะมีขอบใบเหลืองปนน้ำตาล ใบอ่อนงอ ในพืชพวกที่ลงหัว เช่น ผักกาดหัว ใบจะเป็นจุด ๆ ลักษณะอาการที่แสดงที่ต้นพืชคือ ต้นพืชมีขนาดลดลง ยอดแห้งตาย ในหัวผักกาดแดงมีจุดประสีน้ำตาลหรือสีดำ ในกะหล่ำดอก ดอกจะเป็นสีน้ำตาล บรอคโคลีก็อาการเช่นเดียวกัน
- โมลิบดินัม (Mo) พืชที่ขาดธาตุโมลิบดินัม ใบสีจางซีดผิดปกติ กะหล่ำดอกมีใบที่แคบ ช่องระหว่างเส้นใบจะเหลือง ต้นพืชแคระแกร็น ผลมีขนาดเล็กลง ดอกกะหล่ำหลวมไม่แน่น
- ทองแดง (Cu) พืชที่ขาดธาตุทองแดง จะทำให้พืชผักบางอย่างแผ่นใบจะมีสีเหลือง บางอย่างใบจะยาวผิดปกติ เช่น ผักกาดหอม ลักษณะอาการที่แสดงที่ใบคือ ต้นพืชโตช้า ย่นและอ่อน ถ้าหัวหอมขาดธาตุแมงกานีสจะทำให้หัวหอมอ่อนนุ่ม เปลือกบาง สีขาวซีด
- สังกะสี (Zn) อาการขาดธาตุสังกะสีในพืช เช่นในใบเลี้ยงของถั่วฝักยาว มีจุดสีน้ำตาลแดง ใบข้าวโพดมีแถบสีเขียวเหลืองที่โคนใบ ส่วนถ้าขาดในผักกาด จะทำให้เส้นใบของหัวผักกาดแดงมีสีเหลืองและมีอาการไหม้ ส่วนลักษณะอาการที่ผลคือ ไหมของข้าวโพดจะโผล่ออกมาช้ากว่าปกติมาก ข้าวโพดมีฝักน้อย เพราะขาดการผสมพันธุ์
- คลอลีน (Cl) คอลรีนมีความสำคัญต่อขบวนการสังเคราะห์แสง มีผลทำให้พืชแก่เร็วขึ้น พืชที่ขาดธาตุคลอรีนใบจะซีด เหี่ยว และใบสีเหลืองบรอนซ์ ถ้ามีคลอรีนมากเกินไปจะทำให้ขอบใบแห้ง ใบจะเหลืองก่อนกำหนด
จะเห็นว่าธาตุอาหารที่พบในปุ๋ยอินทรีย์มีเกือบครบทุกธาตุที่พืชต้องการ แต่ปริมาณสารอาหารเหล่านี้จะพบมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่ที่วัตถุดิบที่นำมาผลิตปุ๋ย และกรรมวิธีในการผลิตที่ต่างกันก็ทำให้ปริมาณสารอาหารแร่ธาตุมีความแตกต่างกัน ซึ่งปริมาณธาตุอาหารต่างที่พบในปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำจากพืชจะพบสารอาหารได้น้อยกว่าปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำจากวัตถุดิบที่มาจากสัตว์
แต่อย่างไรก็ตามในปุ๋ยอินทรีย์ก็จะมีธาตุอาหารหลัก อย่างไนโตรเจนอยู่แน่นอนไม่ว่าจะผลิตมาจากอะไรก็ตาม ดังนั้นการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้กับพืชกับก็จะส่งผลให้พืชเจริญเติบโตโดยเฉพาะพืชที่ปลูกใหม่จะช่วยให้ต้นพืชตั้งตัวได้ไว
ถึงแม้ธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์มีไม่มากเหมือนในปุ๋ยเคมีแต่สิ่งที่มีประโยชน์เด่นชัดในการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เป็นประจำ จะช่วยปรับปรุงดินให้มีความสามารถในการดูดซับปุ๋ยและน้ำได้ดีขึ้น
จึงช่วยลดการสูญเสียปุ๋ยโดยเฉพาะปุ๋ยเคมีซึ่งเกิดการสูญเสียได้ง่าย
ประโยชน์ ของ ปุ๋ย อินทรีย์
ปุ๋ยอินทรีย์เป็นปุ๋ยที่เกษตรกรสามารถผลิตได้ด้วยตัวเอง โดยใช้วัสดุในที่หาได้ง่ายในพื้นที่ ซึ่งในปัจจุบันปุ๋ยอินทรีย์มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับการทำเกษตร เพราะสภาพพื้นที่เพราะปลูกในปัจจุบันได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก โดยมีสาเหตุมาจากการใช้ปุ๋ยเคมีมาอย่างยาวนาน และการทำเกษตรแบบใช้สารเคมี จึงทำให้ดินเกิดการสูญเสียความสมดุล ขาดสภาพของความเป็นดินที่คุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการเพราะปลูก การใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มลงไปในดินที่เสื่อมโทรมยิ่งดูเหมือนเป็นการทำลายโครงสร้างดินเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นการฟื้นฟูดินให้กลับมามีโครงสร้างที่เหมาะสมต่อการเพราะปลูกอย่างรวดเร็วจึงจำเป็นต้องอาศัยการเติมอินทรีย์วัตถุเพิ่มลงไป ซึ่งวิธที่ดีที่สุดคือการใส่ปุ๋ยอินทรีย์บ่อยๆ นั้นเอง ซึ่งประโยชน์ของการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่น่าสนใจมีดังนี้
- ปุ๋ยอินทรีย์ช่วยคีนความสมดุลกลับสู่ดินให้ระบบนิเวศน์ที่เหมาะสมตามธรรมชาติเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชิวิตขนาดเล็กที่เป็นประโยชน์ต่อดินและการเจริญเติบโตของพืช
- การใส่ปุ๋ยอินทรีย์เป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินซึ่งเป็นอาหารให้จุลินทรีย์ดินได้ใช้ในการเพิ่มกิจกรรม ทำให้เกิดการย่อยสลายปลดปล่อยธาตุอาหารให้กับพืชอย่างช้าๆ
- ปุ่ยอินทรีย์ช่วยปรับโครงสร้างดินให้มีความโปร่งร่วนซุย มีช่องว่างระหว่างเม็ดดินมากขึ้นทำให้เกิดการใหลเวียนของออกซิเจนได้มากขึ้น ช่วยให้พืชหายใจสะดวก
- เพิ่มความสามารถในการกักเก็บความซื้นและดูดซับกักเก็บธาตุอาหารใว้ในดินได้มากขึ้น
- ปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุอาหารที่พืชต้องการใช้ครบเกือบทุกธาตุ ถึงแม้จะมีธาตุอาหารหลักในปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับปุ๋ญเคมี แต่ในปุ๋ยอินทรีย์จะมีธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมครบเกือบทุกธาตุ ซึ่งไม่สามารถฟหาได้ในปุ๋ยเคมีและที่สำคัญไม่มีสารเติมเต็มที่เป็นอันตรายต่อดิน ซึ่งในปัจจุบันเราพบว่าสารเติมเต็มในปุ๋ยเคมีเป็นสาเหตุหลักที่ทำดินแน่น
- ปุ๋ยอินทรีย์ช่วยความปรับค่าความเป็นกรด-ด่างในดินให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งดินที่มีความเป็นกรดหรือด่างอย่างรุนแรงสาเหตุหนึ่งเกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมีมากและต่อเนื่องนั้นเอง
- ปุ๋ยอินทรีย์ช่วยปรับโครงสร้างของดินเหนียวให้มีสภาพเป็นเม็ดดินที่ร่วนซุย เพิ่มความสามารถในการดูดซึมน้ำและปุ๋ยช่วยให้น้ำและอากาสเกิดการถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งเป็นลักษระของดินทีที่เหมาะสมต่อการเพราะปลูก
- ปุ๋ยอินทรีย์ ไม่มีความเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในดิน มนุษย์และสิ่งแวดล้อม ไม่เกิดการตกค้างของสารพิษ
- ปุ๋ยอินทรีย์เกษตรกรสามารถผลิตได้ด้วยตัวเอง ซึ่งการผลิตปุ๋ยใช้เอง จะช่วยลดต้นทุนการทำเกษตรที่เกิดการใช้ปุ๋ยเคมี และยังเป็นการสร้างความยั่งยืนในการทำการเกษตรอีกด้วย เพราะการใส่ปุ๋ยอินทรย์เป็นประจำช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ให้พื้นที่เพราะปลุกของเรา อย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นผลดีต่อดินในระยะยาว เมื่อดินดีปลูกอะไรก็งาม ช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้น
จะเห็นว่าประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์ มีมากกว่าแค่การให้ธาตุอาหารพืช แต่ปุ๋ยอินทรีย์ยังเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาคุณภาพดินเพื่อให้เหมาะสมต่อการเพราะปลูกพืชในระยะยาว ในการทำการเกษตรดินถือว่าเป็นหัวใจสำคัญเลยทีเดียว ดังนั้นการทำการเกษตรจึงต้องให้ความสำคัญกับดิน ซึ่งปุ๋ยอินทรีย์นอกจากจะให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชแล้ว ยังช่วยพัฒนาคุณภาพปรับปรุงดินให้มีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้นช่วยให้เกิดความยั่งยืนในการทำเกษตรอย่างแท้จริง