ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับปรุงดินที่เสื่อมโทรมจากการใช้ปุ๋ยเคมีมาอย่างยาวนาน ซึ่งในปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐได้ทำการพัฒนารการผลิตปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักให้มีความสะดวกและมีคุณภาพเพียงพอที่จะช่วยเกษตรลดการใช้ปุ๋ยเคมีและมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เพื่อให้เกษตรกรสามารถผลิตได้ด้วยตัวเอง 

ปุ๋ยอินทรีย์คืออะไร มาทำความเข้าใจกันครับ

ปุ๋ยอินทรีย์คือปุ๋ยที่ไม่มีส่วนผสมของเคมีปุ๋ยอินทรีย์เกิดจากการนำเอาเศษซากพืชซากสัตว์มาผ่านการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ เมื่อเกิดการย่อยสลายอย่างสมบูรณ์จึงสามารถนำไปใช้ได้

ปุ๋ยอินทรีย์ประโยชน์ที่โดดเด่น

ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์

  • ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยการปรับโครงสร้างทางกายภาพของดิน เช่น ความพรุน ความร่วนซุย
  • เพิ่มความสารถในการอุ้มน้ำ
  • ช่วยปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดิน
  • ช่วยกับเก็บสารอาหารให้อยู่ในดินได้นาน และค่อยๆปลดปล่อยให้กับพืช
  • ช่วยเพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน โดยเฉพาะพวกที่เป็นประโยชน์ต่อการบำรุงดิน
  • เพิ่มการหมุนเวียนของอากาศภายในดินช่วยรากหายใจสะดวก
  • ช่วยเพิ่มธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมในดิน
โครงสร้างของชั้นดิน

จะเห็นได้ว่าข้อดีที่โดดเด่นของปุ๋ยอินทรีย์คือช่วยปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างดินให้มีความเหมาะสมต่อการเพราะปลูกแต่การเพราะปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพนั้น พืชต้องอาศัยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตเช่นกันซึ่งในปุ๋ยอินทรีย์จะมีสารอาหารที่พืชต้องการใช้ในปริมาณมากอยู่น้อยซึ่งเป็นจุดด้อยของปุ๋ยอินทรีย์ เรามาดูข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์ว่ามีอะไรบ้างกันบ้างเพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้

ข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์

  • มีปริมาณธาตุอาหารหลักน้อย ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก
  • ต้องใช้เวลานานในการปลดปล่อยสารอาหารให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์แก่พืช
  • ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมีเมื่อมองในแง่ปริมาณสารอาหารเมื่อเทียบในน้ำหนักที่เท่ากัน
  • หายากเมื่อต้องการใช้ในปริมาณมาก
  • การใช้ปุ่ยอินทรีย์ที่ไม่ได้คุณภาพอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อพืชได้ เช่น การใช้ปุ๋ยคอกที่ไม่ผ่านการย่อยสลายไม่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนอาจมีโรคและแมลงศัตรูพืชติดมาด้วย อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้ในภายหลัง
ระวังการใช้มูลสัตว์ที่ไม่ผ่านการหมักเป็นอันตรายต่อพืช

จะเห็นได้ว่า ปุ๋ยอินทรีย์ มีทั้งข้อดีและข้อเสียเมื่อเรารู้ข้อดีและข้อด้อยของปุ๋ยอินทรีย์แล้วเราต้องนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมเพื่อเสริมประสิทธิภาพให้กับดินและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการผลิตทางการเกษตรของเรา เมื่อพิจรณาข้อดีและข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์ดังกล่าวจะเห็นว่าทางออกของการใช้ปุ๋ยในการเพราะปลูกเชิงการค้าที่เน้นปริมาณและคุณภาพ ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

จำหน่ายน้ำหมักปลาทะเล
Cowboy Plant Food ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและเสริมปริมาณสารอาหารหลักและธาตุอาหารรองรวมถึงจุลธาตุที่พืชต้องการ Cowboy สูตรเข้มข้นพิเศษไม่เติมน้ำหรือวัตถุดิบที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบจำนวนมก อาทิเช่นน้ำมะพร้าว ทำให้ผลิตภัณฑ์คาวบอยแตกต่างจากน้ำหมักชีวภาพหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำทั่วไป สนใจสั่งซื้อสอบถามที่ Line Id : COWBOY9393 
 

อยากทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง เริ่มต้นอย่างไรมาดูกันครับ

ในปัจจุบันมีหน่วยงานภาครัฐได้คิดค้นวิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต้นทุนต่ำและทำได้ง่ายและที่สำคัญสูตรต่างๆที่เขาพัฒนาขึ้นมานั้นได้มีการนำไปวิเคราะห์หาปริมาณสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชและผ่านมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ที่กรมวิชาการกำหนดใว้ด้วยครับ ดังนั้นถ้าเรานำสูตรเหล่านั้นมาผลิตให้ถุกต้องตามวิธีการเราก็จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพ เมื่อนำมาใช้ก็จะเกิดการเห็นผลที่ชัดเจนและยังช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีจึงทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตให้กับเกษตรกรมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว ซึ่งได้มีการทดลองนำปุ๋ยอินทรีย์แต่ละสูตรไปใช้ในแปลงเพราะปลูกของเกษตรกรปรากฎว่าให้ผลผลิตและคุณภาพเพิ่มขึ้น ผลผลิตมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นทำให้รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น มาดูกันครับว่ามีวิธีอะไรบ้าง

ปุ๋ยอินทรีย์ไม่กลับกอง วิศวกรรมแม่โจ้

ปุ๋ยหมักไม่กลับกอง นวัตกรรมแม่โจ้ ช่วยทำให้การทำปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงใว้ใช้เองไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

ข้อดีของการทำปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักไม่กลับกอง

  • ลดปัญหาเรื่องการกลับกองในการทำปุ๋ยอินทรีย์แบบเดิมที่ต้องกลับกองปุ๋ยทุก7วัน
  • ลดต้นทุนที่ต้องใช้ในการกลับกองทั้งแรงงานคน และเครื่องจักร
  • สูตรการทำปุ๋ยอินทรย์วิศกรรมแม่โจ้ไม่ต้องใช้ ยูเรีย (46-0-0) จึงสามารถนำปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้ไปใช้ในแปลงเกษตรอินทรีย์
  • สามารถทำปุ๋ยอินทรีย์ครั้งละมากๆได้โดยไม่ยุ่งยาก
  • จะทำปุ๋ยอินทรีย์ครั้งละน้อยๆหรือมากๆก็เสร็จในเวลา 2 เดือนเท่ากัน
  • ปุ๋ยอินทรีย์ไม่กลับกองที่ผลิตโดยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้มีคุณสมบัตรผ่านมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ทางการค้า ดังนั้นถ้าเกษตรกรสนใจจะผลิตเพื่อจำหน่าย ก็สามารถทำได้ โดยจดแจ้งขออนุญาติการผลิตและขายให้ถูกต้องตามกฎหมายกำหนดเท่านั้น

 

การทำปุ๋ยหมักไม่กลับกอง
เรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกองได้ที่ ห้องเรียนปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง-แม่โจ้ หรือท่านใดสนใจศึกษาดูงานได้ที่ ฐานการเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้  

 มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีฐานเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง ผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษใบไม้ที่รวบรวมได้ในมหาวิทยาลัยตั้งแต่ พ.ศ.2547 ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมได้ทุกวันเวลาราชการ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ติดต่อคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทรสาร 053 498902 หรือโทร 053 878123

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบเติมอากาศ

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบเติมอากาศ พัฒนาโดยกรมวิชาการเกษตร เพื่อลดต้นทุนการกลับกองปุ๋ยหมักแบบเดิมโดยใช้การควบคุมการระบายอากาศในกองปุ๋ยแทนการกลับกองด้วยการเติมอากาศด้วยเครื่องอัดอากาศจากด้านล่างกองปุ๋ย ซึ่งการทำปุ๋ยอินทรีย์แบบเติมอากาศมีข้อดีดังต่อไปนี้

  • ไม่ต้องกลับกองปุ๋ยเหมือนการหมักปุ๋ยแบบเดิมที่ต้องกลับกองทุกๆ วัน
  • ไม่ใส่ยูเรีย (46-0-0) ได้ปุ๋ยที่สามารถนำไปใช้ในแปลงเพราะปลูกระบบอินทรีย์ได้
  • ผสมวัตถุดิบโดยการคลุกเคล้าให้เข้ากันพร้อมเติมน้ำเพื่อให้ได้ความชื้นที่เหมาะสม  สามารถใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วยได้ครับและทำครั้งเดียว  ในขั้นตอนการผสมวัตถุดิบ
  • ไม่ต้องตั้งกองเป็นชั้นๆและสลับเศษพืชกับมูลสัตว์เป็นชั้นๆเหมือนการหมักปุ๋ยหมักไม่กลับกองวิศวกรรมแม่โจ้
  • ได้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพภายในระยะเวลา 2 เดือน (ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาหมัก)
  • เหมาะกับเกษตรกรหรือผู้ที่มีพื้นที่น้อยแต่ต้องการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณมาก

ข้อเสียการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบเติมอากาศ

  •    ต้องสร้างโรงหมักปุ๋ยซึ่งเป็นโรงที่มีระบบเติมอากาศ  เท่าที่เห็นก็มีอยู่ข้อเดียวครับ
การผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศ

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบเติมอากาศ

เรียนรู้การผลิตปุ๋ยหมักคุณภาพจากกรมวิชาการเกษตร คลิกที่นี่เลยครับ

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เราควรหาวัตถุดิบในท้องถิ่นที่มีมากและหาได้ง่าย เพราะจะช่วยลดต้นทุนในการผลิตและต้นทุนในการขนส่งมักเป็นต้นทุนที่สูง อย่างไรก็ตามคุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาผลิต 

ซึ่งในปัจจุบันทั้ง 2 วิธีนี้เหมาะสมที่สุดแล้วสำหรับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใว้ใช้เองในปริมาณมาก หรือทำในปริมาณน้อยก็ทำได้ไม่ยาก ทั้งนี้ถ้าเราเข้าใจหลักการของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แต่ละวิธีเราก็สามารถนำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับเราได้ครับ ซึ่งทั้งแบบก็มีจุดเด่นจุดด้อยที่ต่างกันครับ