ปุ๋ยอินทรีย์ใส่ทุเรียน การเลือกปุ๋ยอินทรีย์ใส่ต้นทุเรียน
เทคนิคเลือกปุ๋ยอินทรีย์ใส่ทุเรียนและวิธีใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในสวนทุเรียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในปัจจุบันการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวสำหรับสวนทุเรียนอาจไม่ได้ผลผลิตดีเหมือนในอดีตอีกแล้ว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะในอดีตพื้นดินที่ปลูกทุเรียนยังอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุและสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตสำหรับทุเรียนรวมถึงอินทรีย์วัตถุต่างๆยังมีปริมาณมากเพราะฉนั้นดินยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อเติมธาตุอาหารหลักให้ต้นทุเรียนที่ในแต่ละปีที่สูญเสียสารอาหารเหล่านี้ไปกับผลผลิตทุกๆปี แต่ความจริงแร่ธาตุความสมบูรณ์ของดินที่เสียไปกับผลผลิตเหล่านี้ ไม่ใช่แค่ธาตุอาหารหลักอย่าง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและ โปรแทสเซียมเท่านั้น แต่ยังมีธาตุอาหารรองและจุลธาตุรวมถึงอินทรีย์วัตถุต่างๆที่เมื่อกาลเวลาผ่านไปก็ถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์กลายเป็นปุ๋ยก็หมดไปเช่นกัน ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวในทุกๆปีจึงทำให้ดินขาดอินทรีย์วัตถุถึงแม้ปุ๋ยเคมีจะมีธาตุอาหารแต่การใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวในสวนทุเรียนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานกลับทำให้ผลผลิตที่ได้ลดลง
ในปัจจุบันชาวสวนทุเรียนทราบดีว่าการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีในการบำรุงต้นทุเรียนเป็นสิ่งจำเป็นและที่สำคัญมีบริษัทหรือผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ออกมาจำหน่ายเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ได้มาตรฐานรับรองจากกรมวิชาการทางการเกษตร และ ไม่ได้มาตรฐาน
วันนี้ผมมีเทคนิคดีๆในการเลือกปุ๋ยอินทรีย์ใส่ทุเรียนและวิธีใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในส่วนทุเรียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดมาฝากชาวสวนทุเรียนกันครับ
1.เลือกปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร เพราะปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านการรับรองจากกรมวิชาการเกษตรจะมีการรับรองปริมาณธาตุอาหารและอินทรีย์วัตถุขั้นต่ำตามมาตรฐานที่กรมวิชาการได้กำหนดไว้
2.หัวใจของปุ๋ยอินทรีย์คือวัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นปุ๋ย ดูวัตถุดิบที่นำมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ส่วนผสมต่างๆจะบอกเราได้เบื้องต้นว่าปุ๋ยอินทรีย์ยี่ห้อนี้มีธาตุอาหารเหมาะสมกับราคาหรือไม่ จะยิ่งดีมากๆถ้าปุ๋ยอินทรีย์ตราหรือยี่ห้อนั้นๆ บอกส่วนผสมอย่างชัดเจนว่าใช้วัตถุดิบอะไรในสัดส่วนเท่าไหร่ ก็จะทำให้เรารู้ว่าปุ๋ยอินทรีย์แบรนด์นี้มีราคาเหมาะสมกับคุณภาพหรือไม่
3.ระวังพวกสารปรับปรุงดินที่แอบอ้างเกินความเป็นจริงเพราะสินค้าประเภทสารปรับปรุงดิน(พวกที่ขึ้นทะเบียนเป็นสารปรับปรุงดิน หมายความว่า ปริมาณสารอาหารที่เป็นประโยชน์กับพืชและอินทรีย์วัตถุมีในปริมาณที่ไม่ผ่านมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร) เพราะฉะนั้นสารปรับปรุงดินไม่ใช่ปุ๋ย
4.รู้จุดเด่นและจุดด้อยของปุ๋ยอินทรีย์
จุดเด่นของปุ๋ยอินทรีย์
–ช่วยปรับปรุงเดินเพิ่มความร่วนซุย
–ช่วยปรับค่าความเป็นกรดด่างของดินที่เกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมีมานาน
–ช่วยเพิ่มธาตุอาหารรองและจุลธาตุ
–ช่วยดูดซับแร่ธาตุสารอาหารจากปุ๋ยเคมี ลดการสูญเสียการระเหย และ การถูกชะล้างไปกับน้ำ
–เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ดิน ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารให้กับพืชได้ต่อเนื่อง
จุดด้อยของปุ๋ยอินทรีย์
–มีปริมาณธาตุอาหารในปริมาณที่น้อยโดยเฉพาะธาตุอาหารหลัก อย่าง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปรแทสเซียมซึ่งเป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมาก
–จะเห็นได้ว่าปุ๋ยอินทรีย์จะใช้วัตถุดิบดีแค่ไหนแต่ข้อด้วยของมันก็คือให้ปริมาณแร่ธาตุหลัก อย่าง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปรแทสเซียม น้อยมากๆ ดังนั้นทางออกของปัญหานี้คือการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับเคมีจึงเป็นทางออกที่เหมาะสมที่สุดเป็นการเต้มเต็มความสมบูรณ์ให้กับดินและช่วยให้พืชได้รับอาหารเพียงพอต่อการเจริญเติบโต จึงให้ได้ผลผลิตได้ดีทั้งปริมาณและคุณภาพ