เคล็ดลับ!!การปลูกผักสวนครัวแบบได้กินชัวร์ๆ
การปลูกผักสวนครัวเพิ่มโอกาสการบริโภคผักปลอดภัย
การปลูกผักสวนครัว ไว้สำหรับบริโภคภายในบ้าน ควรยึดหลักการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดนั้นคือการปลูกผักให้ได้หลากหลายชนิด และควรเป็นพืชผักที่ใช้บริโภคภายในบ้านเป็นประจำทานได้ทุกวัน และมีคุณค่าทางโภชนาการสูงและถ้าจะให้ดีการเลือกปลูกพืชผักสวนครัวที่แมลงไม่ชอบ จะช่วยให้การดูแลพืชผักสวนครัวทำได้ง่ายยิ่งขึ้น สำหรับการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานภายในครอบครัวควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี
การปลูกผักสวนครัวอินทรีย์ออแกนิคจะช่วยให้ทุกคนในครอบครัวได้มีโอกาสรับประทานพืชผักปลอดสารพิษ ซึ่งในปัจจุบันการบริโภคผักตามท้องตลาดทั่วไปหรือแม้แต่ผักที่วางขายในห้างโมเดิร์นเทรดและมีตราสัญลักษ์แสดงถึงความปลอดภัย ไม่ได้หมายความว่าพืชผักเหล่านั้นไม่มีการตกค้างของสารเคมีซึ่งสวนใหญ่เป็นสารเคมีที่ใช้ในการฆ่าแมลงศัตรูพืช ในปัจจุบันองกรค์สุขภาพอนามัยโลกได้ออกมาประกาศว่าสารเคมีพวกนี้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งในมนุษย์
การปลูกผักสวนครัวเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในหลายด้านไม่เพียงแต่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อพืชผักมาประกอบอาหารในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่การปลูกผักสวนครัวมีประโยชน์ในมุมที่เราอาจคาดไม่ถึง มาดูประโยชน์ของการปลูกผักสวนครัวว่ามีอะไรกันบ้าง
ประโยชน์ 7 อย่างของการปลูกผักสวนครัว
- ปลูกเป็นรั้วบ้านได้ เช่น ชะอม
- เป็นการใช้พื้นที่ส่วนที่ว่างให้เกิดประโยชน์
- ประหยัดเงินในการซื้อพืชผักมาประกอบการทำอาหาร
- ได้รับประทานผักปลอดสารเคมีส่งผลให้ทุกคนในครอบครัวมีสุขภาพแข็งแรง
- สามารถใช้กิจกรรมการปลูกผักสวนครัวช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในครอบครัว
- สามารถจัดพื้นที่ปลูกผักสวนครัวให้เป็นสวนสวยเพื่อประดับบริเวณบ้าน
- การปลูกพืชผักสวนครัวอินทรีย์ยังเป็นช่องทางการสร้างรายได้ที่น่าสนใจ ซึ่งในปัจจุบันผู้คนหันมาใส่ใจเรื่องการดูแลสุขภาพมากขึ้น ความต้องการบริโภคพืชผักปลอดสารเคมีมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน
การปลูกผักสวนครัวในบ้าน กิจกรรมสานสัมพันธ์ในครอบครัว
การปลูกพืชผักสวนครัวใว้ในบ้าน นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักที่ต้องใช้บริโภคเป็นประจำแล้ว ยังช่วยให้ทุกคนในครอบครัวได้มีโอกาศรับประทานผักปลอดสารพิษ ซึ่งในปัจจุบันพืชผักต่างๆที่วางขายตามท้องตลาดทั่วไปมักเป็นปนเปื้อนสารเคมีจำพวกยาฆ่าแมลงศัตรูพืช ซึ่งเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆจำนวนมาก การปลูกผักสวนครัวในบ้านไว้รับประทานจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย เรามาดูเคล็ดลับปลูกผักสวนครัวอย่างไรให้มีผลผลิตไว้เก็บกินทั้งปี
เคล็ดลับปลูกพืชผักสวนครัวในบ้าน ให้ได้ผลมีพืชผักไว้ทานทั้งปี
การปลูกผักสวนครัวให้มีผักไว้กินทั้งปี หลายคนอาจจะคิดไปถึงการวางแผนปลูกผัก แต่การปลูกผักสวนครัวให้มีผักได้รับประทานทั้งปีนั้นอาจไม่ยุ่งยากอย่างที่คิดก็ได้ ผักสวนครัวที่เราเห็นกันอยู่เป็นประจำ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือผักสวนครัวที่มีการบริโภคกันมากและเกษตรกรมักปลูกส่งตลาดสดจำนวนมากเรียกผักจีน และอีกประเภทคือ ผักสวนครัวพื้นบ้าน ซึ่งผักสวนครัวพื้นบ้านนี่แหละที่จะช่วยให้เรามีพืชผักสวนครังเก็บกินกันทั้งปี
ข้อดีของผักสวนครัวพื้นบ้าน ปลูกครั้งเดียวเก็บกินได้นานเป็นปีกันเลย อาทิเช่น
- ชะอม
- ผักหวานป่า
- ใบตำลึง
- ผักหวานบ้าน
- หน่อไม้
- ชะพลู
- ผักก้านตง
- ผักเหลียง
- ใบบัวบก
- กระถิน
ถ้าเราปลูกผักพื้นบ้านผสมผสานกับผักอายุสั่น(ผักจีน) อาทิเช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้งจีน มะระ ผักกาด ซึ่งผักพวกนี้ต้องการ การดูแลเอาใจใส่สักหน่อยแต่ไม่เกินความสามารถของเราอยู่แล้วก็จะช่วยให้เรามีพืชผักสวนครัวที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการปลูกผักสวนครัวให้ได้ผลผลิตเก็บกินทั้งปีจึงไม่ใช่เรื่องยากเลยเพียงแค่เราปลูกผักสวนครัวพื้นบ้านร่วมกับผักสวนครัวทั่วไปเราก็มีผักสวนครัวกินทั้งปีแล้ว
การปลูกผักสวนครัวในกระถาง ไม้ประดับกินได้
การปลูกผักสวนครัวในกระถาง เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับผู้ที่ต้องการปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทานเองภายในบ้าน แต่มีพื้นที่น้อยหรือไม่สะดวกทำแปลงปลูก เช่นอาศัยอยู่คอนโด อพาตเม้น หรือแม้แต่ผู้ที่มีพื้นที่เพียงพอแต่ไม่สะดวกที่จะทำแปลงปลูกผักสวนครัวในบ้าน การปลูกพืชหรือผักสวนครัวในกระถาง เป็นวิธีที่จะช่วยให้เรามีพืชผักที่ชอบไว้รับประทานเป็นประจำแถมปลอดสารพิษเป็นพืชผักที่ปลอดภัยต่อสุขภาพอีกด้วย
การปลูกผักสวนครัวในกระถางนั้นง่ายถ้ารู้เทคนิค
5 เทคนิคปลูกผักสวนครัวในกระถาง
- ภาชนะปลูกใช้อะไรก็ได้ขอแค่มีรูระบายน้ำได้ก็เพียงพอแล้ว
- วัสดุปลูกต้องระบายน้ำได้ง่าย ช่วยป้องกันโรครากเน่าที่เกิดจากการรดน้ำมากเกินไป
- ปุ๋ยคือสิ่งสำคัญในการปลูกพืชหรือผักสวนครัวในกระถาง พื้นที่น้อยกักเก็บปุ๋ยได้น้อย การใส่ปุ๋ยจึงต้องใส่ครั้งละน้อยๆแต่ใส่บ่อยๆจะได้ผลดี
- การหมั่นรดน้ำผักสวนครัวในกระถางเป็นประจำเช้า-เย็นช่วยให้ผักไม่ขาดน้ำ
- ผสมดินปลูกให้เหมาะสมเน้นที่การระบายน้ำได้ดี
- การใช้น้ำหมักชีวภาพดูแลเรื่องโรคและแมลงศัตรูพืชทำให้เราได้รับประทานผักสวนครัวที่ปลอดสารเคมี
เรียนรู้ขั้นตอนการปลูกผักสวนครัวในกระถางอย่างละเอียดได้ที่นี่
การปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ มีแต่ได้กับได้
การปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ เป็นสิ่งที่พบเห็นได้มากในพื้นที่ชนบท ซึ่งแตกต่างจากในเมืองที่นิยมสร้างรั้วบ้านเป็นกำแพงปูนแน่นหนา แต่ในชนบทการสร้างกำแพงรั้วมักทำโดยการปลูกพืชผักสวนครัวที่สามารถเก็บมาประกอบอาหารได้ เช่นการปลูกชะอมเป็นรั้ว อย่างไรก็ตามภูมิปัญญาเรื่องการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ ก็ยังคงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และสามารถนำมาปฏิบัติได้จริง ซึ่งการปลูกผักสวนครัวทำรั้วและสามารถนำมาบริโภคได้ด้วยนั้น เราต้องเลือกพืชที่จะปลูกให้เหมาะสม เลือกอย่างไรและพืชผักอะไรบ้างที่เหมาะสมจะนำมาปลูกเป็นพืชผักสวนครัวรั้วกินได้
พืช 16 ชนิดเหมาะที่จะนำมาปลูกเป็นผักสวนครัวรั้วกินได้
- ชะอม
- ผักหวาน
- มะนาว
- มะกูด
- ขิง
- ข่า
- ตะไคร้
- กะเพรา
- ชะพลู
- พริก
- กระถินบ้าน
- ตำลึง
- ผักปรัง
- ต้นแคร
- ถั่วพู
- มะระ
การเลือกปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ควรเลือกปลูกพืชผักที่ปลูกง่ายและให้ผลผลิตตลอดปี มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและเป็นพืชที่ดูแลง่ายจะช่วยให้พืชผักที่เราปลูกไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีในการดูแล ทำให้ได้รับประทานพืชผักปลอดสารพิษอีกด้วย
การปลูกผักสวนครัวไร้ดิน ไม่มีดินก็ปลูกผักกินได้
การปลูกผักสวนครัวไร้ดิน ทางเลือกของคนที่ต้องการปลูกผักสวนครัวในบ้านแต่ไม่มีพื้นที่หรือดินเพราะปลูก ในปัจจุบันได้มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกผักสวนครัวไร้ดิน เพื่อผลิตพืชผักสวนครัวที่สะอาดปลอดภัยไว้รับประทานภายในครอบครัว การปลูกผักไร้ดินจะว่าง่ายก็ไม่ใช่ซะทีเดียวแต่ก็ไม่ยากถึงขนาดที่คนทั่วไปไม่สามารถทำได้ สิ่งสำคัญที่ทำให้การปลูกผักสวนครัวไร้ดินประสบความสำเร็จ คือการเรียนรู้วิธีปลูกผักไร้ดินที่ถูกต้องจะช่วยให้เราปลูกผักสวนครัวแบบไร้ดินได้สำเร็จแน่นอน
การปลูกผักสวนครัวแบบผสมผสาน ช่วยให้มีผักกินทั้งปี
การปลูกผักสวนครัวแบบหมุนเวียนและผสมผสาน
การปลูกผักสวนครัวแบบหมุนเวียนและผสมผสานคือ การปลูกผักพร้อมๆกันไปทั้ง 4 ประเภท ใน 1 แปลงปลูก1 ฤดูปลูก
ผักสวนครัว 4 ประเภท มีดังต่อไปนี้
- ผักสวนครัวที่ใช้ใบเป็นอาหาร เช่น ผักกาดหอม กะหล่ำปลี ผักบุ้ง
- พืชผักที่ใช้รากเป็นอาหาร เช่น หัวไชเท้า ขิง เผือก มัน
- พืชที่ให้ผลเป็นอาหาร เช่น มะเขือเทศ พริก มะระ มะเขือ บวบ
- พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วพู ถั่วฝักยาว
5เคล็ดลับการปลูกผักสวนครัวแบบผสมผสาน
- ปลูกผักทั้ง 4 ประเภทพร้อมๆกันใน 1 แปลงปลูก
- ปลูกทุกประเภททุกฤดู
- ปลูกโดยหมุนเวียนสลับพื้นที่กัน ช่วยลดปัญหาดินเสื่อมเพราะผักแต่ละชนิดมีระบบรากสั่นยาวไม่เท่ากัน การดูดธาตุอาหารจากดินจึงทำได้แตกต่างกัน และยังช่วยลดปัญหาเรื่องโรคและแมลงของผักได้อีกด้วย
- ปลูกผักให้มีระยะชิด โดยกะระยะให้ใบของผักเมื่อโตเต็มที่แล้วซ้อนเกยกัน ช่วยรักษาความชื้นในแปลงปลูก
- เน้นใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือปลูกพืชผักให้ได้มากที่สุด
การปลูกผักสวนครัวแบบผสมผสานลงแปลงปลูกทำได้ 2 วิธี
แบบเพาะกล้าแล้วย้ายปลูก
- ให้หว่านเมล็ดลงไปในแปลงเพาะกล้าที่เตรียมดินไว้แล้ว
- โรยทับด้วยดินที่คลุกปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกหนา 1 cm
- คลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟางแล้วรดน้ำให้ชุ่ม
- รดน้ำเช้า-เย็นทุกวัน
- เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 3-5 ใบ ให้ย้ายปลูกในแปลงปลูก
- ย้ายต้นกล้าลงแปลงปลูกในตอนเย็น
แบบหว่านลงแปลงปลูก
- ใช้วิธีหว่านเมล็ดลงแปลงหรือหยอดเมล็ดลงร่องปลูก หรือหลุมปลูกที่ลึกประมาณ 1 เซนติเมตร
- โรยทับด้วยดินผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก
- คลุมด้วยเศษหญ้าหรือฟาง
- รดน้ำให้ชุ่ม
- รดน้ำเช้า-เย็นทุกวัน
- เมื่อกล้าผักมีใบจริง 3-5 ใบ ให้จัดระยะของต้นกล้า ให้มีระยะห่างตามชนิดของผักที่ปลูก
อุปกรณ์การปลูกผักสวนครัว
อุปกรณ์การปลูกผักสวนครัว คือเครื่องมือช่วยให้การปลูกผักสวนครัวมีความสะดวกมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มปลูกผักสวนครัวครั้งแรก การหาซื้ออุปกรณ์การปลูกผักสวนครัว อาจเป็นปัญหาได้เช่นกัน เพราะไม่รู้ว่าต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้างสำหรับการปลูกผักสวนครัว เพื่อให้การเริ่มต้นปลูกผักสวนครัวเป็นไปด้วยดี เรามาดูกันเลยว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้างที่จำเป็นต้องใช้ในการปลูกผักสวนครัว
5 อุปกรณ์การปลูกผักสวนครัว ที่ควรมี
- จอบ
- เสียม , พั่ว
- คราดพรวนดิน
- บัวรดน้ำ
- ถุงมือ
วิธีการเตรียมดินปลูกผักสวนครัว เตรียมดินดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
วิธีการเตรียมดินปลูกผักสวนครัวให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การปลูกผักสวนครัวประสบความสำเร็จ ในปัจจุบันดินที่เหมาะสมต่อการเพราะปลูกนั้นหายากเต็มที แม้แต่เกษตรกรเองที่มีพื้นที่เพราะปลูกขนาดใหญ่ แต่คุณภาพดินที่เสื่อมโทรมลงอย่างมากจากการเพราะปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวเป็นเวลานานรวมถึงการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชและแมลงศัตรูพืชทำให้สารเคมีเหล่านั้นตกค้างอยู่ในดินเป็นจำนวนมากเป็นสาเหตุให้ดินมีความเป็นกรด-ด่างที่รุนแรงซึ่งไม่เหมาะสมต่อการเพราะปลูก
ดังนั้นการผสมดินเพื่อนำมาเพราะปลูกพืชผักสวนครัว จึงเป็นทางออกที่ดีสำหรับการหาวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
เคล็ดลับเตรียมดินปลูกผักสวนครัวอย่างไร ให้โตไว ไร้โรค
การเตรียมดินสำหรับปลูกผักสวนครัว (กรณีปลูกผักสวนครัวในแปลงปลูก) คุณภาพของดินจะเป็นตัวกำหนดการเจริญเติบโตของพืช การให้ธาตุอาหารดินด้วยปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยอินทรีย์ช่วยทำให้ดินมีชีวิตและจุลินทรีย์ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจะทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดิน เพื่อปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช
การเตรียมดินปลูกผักสวนครัว ในกรณีที่ดินไม่สมบูรณ์ หรือเป็นการยกแปลงเพื่อปลูกผักสวนครัวครั้งแรก ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
- ทำการยกแปลงพลิกหน้าดินตากไว้ 7 วัน
- ยกแปลงให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตร
- ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 2 กิโลกรัมต่อ 1 ตารางเมตร
- รดน้ำให้ชุ่ม
- ตากดินทิ้งไว้ 3-5 วัน
เพียงเท่านี้เราก็ได้ดินที่พร้อมจะปลูกผักสวนครัวได้แล้วครับ