ป๋ยใส่กุหลาบ

ปุ๋ยกุหลาบ สูตรอะไรที่ใส่แล้ว กุหลาบงาม โตไว ดอกใหญ่ ออกดอกง่าย

ปุ๋ยกุหลาบอินทรีย์ออแกนิค

ประเภทปุ๋ยกุหลาบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่

ปุ๋ยกุหลาบประเภทเคมี

ได้แก่ ปุ๋ยสูตรต่างๆที่ระบุอัตราส่วนของธาตุอาหารชัดเจน จะมี 2 ประเภทหลักๆ คือปุ๋ยที่ให้เฉพาะธาตุอาหารหลัก (NPK)และ ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม (แม็กนีเซียม , เหล็ก ,แคลเซียม ,ซัลเฟอ, แมงกานิส และธาตุอื่นๆ)

สูตรปุ๋ยกุหลาบประเภทนี้อัตราส่วนธาตุอาหาร NPKที่เหมาะสมกับกุหลาบ คือ N:P:K = (1):(0.5):(1.5) ปุ๋ยในท้องตลาดที่ใกล้เคียงได้แก่ ปุ๋ยสูตร 14-9-20 ,15-5-20,21-9-24 ปริมาณที่พอดี 50 กรัมต่อ 1 ตารางเมตร หรือ 7 กรัม ต่อต้นทุกๆ 10 วัน

ข้อดีของปุ๋ยกุหลาบประเภทนี้คือ ให้ธาตุอาหารในปริมาณที่ชัดเจนตามที่ระบุในสูตร ช่วยแก้ปัญหากุหลาบขาดสารอาหารได้ทันที

ข้อเสีย ต้องใส่อย่างระมัดระวัง ไม่มากเกินไปเพราะถ้ามากเกินก็ก่อให้เกิดความเสียหายต่อกุหลาบได้ง่าย

นอกจากธาตุอาหารหลักแล้วกุหลาบยังต้องการธาตุรองและเสริมเพื่อใช้สร้างการเจริญทางทรงพุ่มและการออกดอกที่สมบูรณ์ ซึ่งปกติธาตุรองเสริมเหล่านี้จะมีอยู่ในดินอยู่แล้วทำให้พืชไม่ขาด

แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปธาตุเหล่านี้อาจมีปริมาณลดลงจนไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ของกุหลาบ ทำให้กุหลาบแสดงอาการขาดธาตุเหล่านี้โดยแสดงออกทางใบหรือต้นเช่น ใบเล็กเหลือง ดอกมีขนาดเล็ก หรือแม้กระทั่งออกดอกยากก็อาจเกิดขาดธาตุพวกนี้ได้เช่นกัน

ปุ๋ยรองปุ๋ยเสริมกุหลาบ

ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม

  • Ca แคลเซียม ให้ใช้ แคลเซียมไนเตรท CaNo3 (15-0-0)
  • Ca + Mg ,แคลเซียมและแมกนีเซียม ใช้ปูนมาร์ล ,โดโลไมท์
  • S ซัลเฟอร์ ใช้ปุ๋ยซัลเฟต ,กำมะถันผง
  • Mg ใช้โดโลไมท์ หรือ แมกนีเซียมซัลเฟต

ในปัจจุบันมีปุ๋ยรวมธาตุอาหารรองและเสริม (All in One) ทำให้สะดวกใช้มาก ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะรวมเอาธาตุรองและเสริมตัวหลักๆ เช่น Mg , Ca ,Zn และ Fe

วิธีใช้ เมื่อพบว่ากุหลาบแสดงอาการขาดธาตุพวกนี้ ให้ใช้ปุ๋ยรวมธาตุผสมน้ำตามอัตราที่กำหนดฉีดพ่นทางใบ 1-3 ครั้งทุก 7-10 วัน เมื่อฉีดได้ 2 ครั้งอาการขาดธาตุพวกนี้จะหายไป

หรือจะเสริมธาตุรองเสริมด้วยปุ๋ยอินทรีย์ก็ได้เช่นกัน เนื่องจากปุ๋ยประเภทนี้่ผลิตจากพืชหรือสัตว์ รวมถึงที่ผลิตจากมูลสัตว์ทำให้ปุ๋ยที่ได้มีธาตุอาหารหลากหลาย เช่นมี ธาตุอาหารมากกว่า 16 ชนิด มีกรดอะมิโนต่างๆ มีฮอร์โมนเร่งโต มีวิตามิน แร่ธาตุอื่นๆที่เป็นประโยชย์ต่อการสร้างความสมบูรณ์ของกุหลาบ

เมื่อใส่ปุ๋ยประเภทนี้ให้กุหลาบจะช่วยให้กุหลาบได้รับธาตุเสริมต่างที่มีอยู่หลากหลายในปุ๋ยอินทรีย์ และช่วยปรับปรุงดินให้ร่วนซุย เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในดิน

ดังนั้นควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้กับกุหลาบอย่างน้อยปีละ 1- 2 ครั้ง เพื่อเติมธาตุอาหารรองและเสริมลงในดินเพื่อเป็นการปรับปรุงดินเพิ่มความพรุนให้เม็ดดิน และช่วยเพิ่มความสามารถให้รากกุหลาบกินปุ๋ยได้ดีขึ้น

ปุ๋ยกุหลาบประเภทปุ๋ยอินทรีย์ออแกนิค

ปุ๋ยใส่กุหลาบ ประเภทปุ๋ยอินทรีย์ ออแกนิค

ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆที่ทำจากวัตถุดิบต่างๆ เช่น มูลไก่ มูลวัว มูลค้างคาว หรือทำจากเศษพืชสดต่างๆ

หลักการง่ายๆในการเลือกปุ๋ยใส่กุหลาบประเภทนี้ คือต้องรู้ว่าปุ๋ยตัวนี้ผลิตจากอะไร เพราะวัตถุดิบที่ใช้ผลิตจะเป็นตัวบอกว่า ปุ๋ยตัวนี้ให้ธาตุอะไรในปริมาณมาก

เช่นปุ๋ยอินทรีย์ยี่ห้อ A ใช้พืชผักเป็นวัตถุดิบส่วนใหญ่ในการผลิต ดังนั้น ปุ๋ยยี่ห้อ A ก็จะให้ธาตุไนโตรเจนสูง เช่นเดียวกับปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้มูลวัวเป็นวัตถุดิบหลัก ก็จะให้ธาตุไนโตรเจนสูงเช่นกัน

ดังนั้นความแตกต่างของธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์จึงขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาผลิต การเลือกปุ๋ยอินทรีย์มาใส่กุหลาบจำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสม

เนื่องจากกุหลาบเป็นไม้ดอก สัดส่วนปุ๋ยที่เหมาะสมคือต้องมีธาตุฟอฟฟอรัส (P)สูงเป็นพิเศษ

ปุ๋ยอินทรีย์ที่ให้ธาตุฟอสฟอรัสสูง ได้แก่ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากมูลไก่ หรือ ปุ๋ยมูลค้างคาวเป็นต้น

ข้อดี ปุุ๋ยประเภทนี้ ไม่ได้ให้แค่ธาตุอาหาร (NPK)เท่านั้นแต่ยังให้ธาตุอาหารรองและเสริมอีกด้วย

การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้กับกุหลาบเป็นประจำจะช่วยปรับปรุงดินให้ร่วนซุย ทำให้ดินโปร่ง อากาศใหลเวียนดี เพิ่มความสามารถในการกักเก็บความชื้นและปุ๋ย ช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ดินเพิ่มกิจกรรมการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดิน

เพิ่มแร่ธาตุในดิน โดยจุลินทรีย์จะช่วยย่อยและปลดปล่อยสารอาหารจากอินทรีย์วัตถุให้อยู่ในรูปของสารอนินทรีย์ที่เป็นประโยชต่อพืชในรูปที่พืชดูดซึมไปใช้ได้

ข้อเสีย ต้องเลือกใส่ให้ถูกช่วงของการเจริญเติบโตเนื่องจากกุหลาบเป็นพืชที่เราต้องการดอก แต่ปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่จะมีไนโตรเจนสูง ถ้าใส่มากเกินไปก็จะทำให้กุหลาบออกดอกยาก หรือ ออกน้อย แต่กุหลาบจะมีแต่ใบคือใบจะงามมาก

ดังนั้นถ้าจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียวแต่ต้องการให้กุหลาบออกดอกดีละก็ ต้องเข้าใจและรู้ว่าปุ๋ยอินทรีย์แต่ละตัวผลิตจากอะไรและให้ธาตุอะไรมากน้อยอย่างไร จะช่วยให้เลือกปุ๋ยใส่กุหลาบได้อย่างเหมาะสม

อาหารเสริมพ่นทางใบ

เช่น ปุ๋ยปลา จะให้ธาตุหลักและแร่ธาตุอื่นๆมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอื่นปุ๋ยที่ผลิตจากปลาทะเล และปลาน้ำจืดก็ให้ธาตุอาหารที่แตกต่างกัน

ปุ๋ยกุหลาบอินทรีย์ออแกนิค

โดยจากงานวิจัยพบว่าปุ๋ยจากปลาทะเลให้แร่ธาตุต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมากกกว่าปุ๋ยที่ผลิตจากปลาน้ำจืด และมีคำบอกเล่าจากผู้ที่ใช้ปุ๋ยปลากับกุหลาบพบว่าทำให้กุหลาบออกดอกเยอะ มีช่อดอกยาว ได้กุหลาบดอกใหญ่กว่าปกติ

ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่บอกว่าการใช้ปุ๋ยปลาช่วยให้ช่อดอกไม้มีขนาดใหญ่ขึ้นและได้สีสันสดกว่า ดอกใหญ่กว่า

การใส่ปุ๋ยเร่งดอกกุหลาบ

การเร่งกุหลาบให้ออกดอกเยอะ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

การใส่ปุ๋ยเร่งดอกกุหลาบ สำหรับสวนกุหลาบเพื่อตัดดอก

กุหลาบที่ปลูกเพื่อตัดดอกจะต้องการปุ๋ยมากเป็นพิเศษเพราะต้องการการออกดอกจำนวนมาก และเมื่อได้เวลาตัดดอกก็จะตัดดอกพร้อมใบบางส่วน ทำให้กุหลาบสูญเสียแหล่งสร้างอาหารบางส่วนออกไป

จึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยให้กุหลาบอย่างสม่ำเสมอ

โดยใช้ปุ๋ยเคมีสูตรตามด้านบน ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ใส่ตามระยะของการเจริญช่วงต่างๆอย่างสม่ำเสมอ

การใส่ปุ๋ยกุหลาบที่ปลูกในสวน เพื่อความสวยงาม

สำหรับการปลูกกุหลาบในสวนส่วนใหญ่ต้องการให้พุ่มใหญ่เมื่อต้นกุหลาบเจริญเติบโตจนเป็นพุ่มขนาดใหญ่ก็จะให้ดอกออกมาเอง

การปลูกกุหลาบเพื่อความสวยงาม จึงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยสุตรเคมีก็ได้ ยิ่งถ้าดินมีความสมบูรณ์อยู่แล้ว ให้ใส่ปุ๋ยปลา ปุ๋ยอินทรีย์ประเภทมูลค้างคาว หรือปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำจากมูลไก่ เพราะให้ธาตุฟอสฟอรัสสูง ช่วยให้กุหลาบออกดอกง่ายขึ้น ใส่เดือนละ 1-2 ครั้ง เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้กุหลาบมีพุ่มใหญ่สมบูรณ์ และดอกก็จะออกมาเอง

การใส่ปุ๋ยกุหลาบให้เหมาะสมกับช่วงการเจริญเติบโต

การเลือกใช้ปุ๋ยกุหลาบให้เหมาะกับความต้องการในแต่ละช่วงของการเติบโต จะช่วยให้กุหลาบสมบูรณ์การออกดอกทำได้ง่าย

โดยแบ่งตามระยะดังต่อไปนี้

ในช่วงต้นฤดูการเจริญเติบโตของกุหลาบ คือต้นฤดูฝนและต้นฤดูหนาว

ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 6-12-4ในระยะที่ตาเริ่มแตกยอดอ่อน ใส่ปุ๋ยสูตร 5-10-5, 4-12-4

ในระยะก่อนออกดอก ใส่ฟอสเฟตหรือนำไปผสมน้ำฉีดพ่นก่อนออกดอก 1 – 2 สัปดาห์

ในระยะหลังตัดแต่งกิ่งกลางหรือหนักไปแล้ว ให้ใส่ ดีเกลือฝรั่ง ( Emsalt) เป็นเกลือซัลเฟตของแมกนีเซียม หรือเรียกว่า “แมกนีเซียมซัลเฟต” (Magnesium sulfate)ช่วยเพิ่มการแตกกิ่งกระโดง

ในระยะหลังย้ายกระถาง ใส่หินฟอสเฟตรอง หรือปุ๋ยละลายช้ารองก้นหลุม (ถ้าเป็นปุ๋ยอินทรีย์ก็ใช้ปุ๋ยกระดูก) และในระยะนี้ยังไม่ควรใส่ปุ๋ยที่หน้าดิน

ช่วงปกติ: ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 ได้

สำหรับธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมดูด้านบนของบทความได้เลยครับ